วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

การเลี้ยงนกกระจอกเทศ




มีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา สำหรับคนไทยแล้วจะพบเห็นนกกระจอกเทศก็เฉพาะตามสวนสัตว์เท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่ให้ผลตอบแทนหลายอย่างที่ มีประโยชน์ เช่น หนังคุณภาพเยี่ยมดีกว่าหนังจระเข้เสียอีก เนื้อรสชาดอร่อยเหมือนเนื้อวัว แต่ไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำกว่ามาก ขนทำเครื่องประดับ แถมไข่ยังใช้แกะสลัก หรือวาดลวดลายเป็นเครื่องประดับอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวเป็นคุณลักษณะของสัตว์เศรษฐกิจอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถเปรียบเทียบการให้ผลผลิตของโคกับนกกระจอกเทศ ได้ดังนี้


อาจจะเป็นของแปลก ถ้าเมืองไทยจะตั้งฟาร์มเลี้ยงนกกระจากเทศแต่โดยความเป็นจริงแล้วในต่าง ประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ อิสราเอล ออสเตรเลีย เป็นต้น มีฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศมากมาย อย่างในอเมริกามีถึง 3,000 กว่าฟาร์ม แล้วยังตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงนกกระเทศอีกด้วย หนังของนกกระจอกเทศเป็นที่นิยมของผู้ผลิตชั้นนำ เช่น คริสเตียนดิออร์ เทสท์โตนี ฯลฯ เพื่อใช้ผลิตรองเท้าบู๊ต เข็มขัด กระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง เป็นต้น ซึ่งประเทศที่นิยมสินค้าจากหนังนกกระจอกเทศ คือ ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อเมริกา และอิตาลี สำหรับเนื้อนกกระจอกเทศก็มีแนวโน้มที่จะทดแทนเนื้อวัว เพราะเนื้อมีสีแดง เหมือนเนื้อวัว โดยเฉพาะในกลุ่มชนที่ไม่นิยมบริโภคเนื้อวัว เพราะรสชาดเหมือนเนื้อวัวแต่โปรตีนสูงกว่าและโคเลสเตอรอลต่ำกว่า ดังนั้น เพื่อเป็นข้อมูลแก่เกษตรกรไทยหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ การเลี้ยงนกกระจอกเทศ กลุ่มงานสัตว์ปีก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ จึงได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือของต่างประเทศมาเพื่อให้ท่านได้ศึกษาเป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งหวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้าง

การเลี้ยงนกกระจอกเทศ ก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น โค สุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ ย่อมจะต้องมีโรงเรือน อาหาร การจัดการเลี้ยงดู เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตที่ผู้เลี้ยงจะต้องให้ความสนใจและศึกษา เพื่อจะได้จัดให้เหมาะสมกับพันธุ์สัตว์ ดังนี้

โรงเรือนสำหรับนกกระจอกเทศ
ลักษณะของโรงเรือน
เนื่องจากนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ป่ามาก่อน กินหญ้าและแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหาร ดังนั้น โรงเรือนของนกกระจอกเทศ จึงมี 2 ส่วน คือ

1. ส่วนที่เป็นบริเวณโรงเรือน (Shed) โดยจะต้องกั้นเป็นห้องมีประตูปิดเปิด สำหรับขังนกกระจอกเทศเพื่อการรักษา หรือกั้นไม่ให้นกกระจอกเทศรบกวนขณะที่เข้าไปเก็บไข่ออกไปฟัก เพราะช่วงผสมพันธุ์และออกไข่ นกกระจอกเทศ ค่อนข้างจะดุ ตลอดจนเป็นที่วางภาชนะให้น้ำและอาหาร

2. ส่วนที่เป็นบริเวณสำหรับวิ่งเล่น หรือออกกำลังกาย ซึ่งควรจะปลูกหญ้าไว้ให้นกได้จิกกินด้วย

อัตราส่วนของพื้นที่
พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศ จะไม่สมารถระบุตายตัวแน่นอนว่าจะต้องเป็นเท่าไร ทั้งนี้ขึ้นกับความสมบูรณ์ของพืชหรือหญ้าเล็ก ๆ และพื้นที่เหลือใช้ด้วย แต่สามารถกำหนดคร่าว ๆ ได้ ดังนี้


รั้ว
ควรสูง 1.50-2.00 เมตร โดยใช้ลวดที่ไม่มีหนามแหลมคม เพราะจะทำให้นกกระจอกเทศได้รับอันตรายได้ อาจใช้เป็นตาข่ายถัก หรือลวดกั้นเป็นช่วง ๆ ก็ได้ เพราะปกตินกกระจอกเทศจะไม่บินหนีอยู่แล้ว การจะใช้วัสดุอะไรจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของนกกระจอกเทศ และทุนทรัพย์ของผู้เลี้ยงด้วย

อาหารนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศเป็นสัตว์กินพืช (Herbivorous) กระเพาะจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด (Gizzard) เหมือนไก่แต่ไม่มี Crop และกระเพาะพัก (Proventriculus) เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant) เช่น โค กระบือ ดังนั้น อาหารของนกกระจอกเทศ จึงเป็นพืช ผัก หญ้า และสัตว์เล็ก ๆ เช่น ลูกกบ จิ้งจก หรือ แมลงต่าง ๆ นอกจากนี้ยังจิกกินก้อนหิน หรือหินเกล็ดเล็ก ๆ เพื่อช่วยในการบดย่อยอาหารที่บริเวณกระเพาะบด สำหรับการเลี้ยงในระบบฟาร์ม อาหารของนกกระจอกเทศมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งจะต้องคำนวณให้ตรงตามความต้องการของนกกระจอกเทศอายุต่าง ๆ กันโดยจะต้องมีแร่ธาตุอาหารครบถ้วย และเพียงพอโดยเฉพาะแคลเซียมความต้องการอาหารข้นในแต่ละช่วงอายุสามารถแบ่ง ออกได้เป็น ดังนี้


นอกจากนี้จะต้องมีหญ้าแห้งหรือหญ้าสดและหินเกล็ดตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศจิกกินด้วย

การฟักไข่นกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศถ้าผล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ (Wild Ostrich) จะถึงอายุผสมพันธุ์เมื่อเพศผู้อายุ 3-4 ปีขึ้นไป ส่วนเพศเมีย 2.5 ปีขึ้นไป แต่นกกระจอกเทศที่เลี้ยงในระบบฟาร์ม (Intensive) จะใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่อเพศผู้อายุ 2.5 ปี ขึ้นไป ส่วนเพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารและการจัดการเป็นหลัก อัตราส่วนที่ใช้ผสมพันธุ์เพศผู้ 1 ตัวต่อเพศเมีย 1-3 ตัว นกกระจอกเทศจะผสมพันธุ์ในช่วงที่มีอากาศเย็นและแห้ง ซึ่งที่เลี้ยงอยู่ที่กรมปศุสัตว์จะออกไข่ในเดือนตุลาคมถึงเมษายน และจะออกไข่ปีละไม่เกิน 6 เดือน โดยออกไข่ทุก 2 วันต่อ 1 ฟอง ไข่หนักฟองละ 900-1,650 กรัม และมีความยาว 6-8 นิ้ว เปลือกไข่สีขาวครีม จนไข่ได้ 12-16 ฟอง ก็จะหยุดฟักไข่ (Clutch) โดยตัวเมียจะฟักไข่ในตอนกลางวัน ตัวผู้จะช่วยฟักในตอนกลางคือ ซึ่งจะใช้เวลาฟักไข่ 42 วัน ในแต่ละปีแม่นกกระจอกเทศจะให้ไข่ประมาณ 36-42 ฟอง แต่ถ้าเก็บไข่ออกจะทำให้แม่นกกระจอกเทศออกไข่ได้มากขึ้น ซึ่งบางตัวให้ไข่ถึง 90 ฟอง สำหรับการเลี้ยงในระบบฟาร์ม จะไม่ปล่อยให้นกกระจอกเทศฟักไข่เอง แต่จะนำไข่ไปฟักด้วยเครื่องฟักไข่ ซึ่งมีวิธีการคล้ายการฟักไข่เป็ด ไข่ไก่ ดังนี้

การดูแลไข่ฟัก
ไข่ที่จะใช้สำหรับฟักหลังจากเก็บจากรังไข่แล้ว จะต้องทำการรมควันฆ่าเชื้อด้วยก๊าซฟลอมาดิไฮด์ก่อนนำไปไว้ในห้องที่มี อุณหภูมิ 20 ํC - 22 ํC และเก็บนานไม่เกิน 7 วัน ใสระหว่างที่เก็บจะต้องทำการกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ก่อนที่จะนำไข่เข้าตู้ฟักจะต้องนำไข่ฟักออกจากห้องควบคุมอุณหภูมิมาไว้ที่ ห้องที่อุณหภูมิมาไว้ที่ห้องที่อุณหภูมิปกติ (preheat) เสียก่อนประมาณ 8-10 ชั่ว โมง เพื่อหรับความเย็นของไข่สู่อุณหภูมิปกติ (ประมาณ 35 ํC) ถ้านำไข่เข้าตู้ฟักทันทีจะทำให้เชื้อตาย(Embryonic shock) เนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเย็นไปร้อน

อุณหภูมิและความชื้น
อุณหภูมิที่ใช้ในการฟักไข่ คือ 36.2 ํC มีความชื้น 40% จะใช้เวลาฟักไข่นาน 41-43 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิ 35 ํC ความชื้น 40% จะใช้เวลาฟักไข่ 43-47 วัน หากเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นจะทำให้อัตราการตายของลูกนกกระจอกเทศระยะแรก เพิ่มสูงขึ้น

การส่องไข่
ส่องไข่ 2 ครั้ง เพื่อคัดเลือกไข่ที่ไม่มีเชื้อหรือเชื้อตายออกโดยครั้งแรกจะทำการส่องไข่ หลังจากฟักไปแล้ว 2 สัปดาห์ หรือหากชำนาญอาจส่องได้เมื่อฟักไข่ไปแล้ว 7-10 วัน ส่วนครั้งที่สองจะส่องก่อนย้ายจากตู้ฟัก (Setter) ไปตู้เกิด (Hatcher) หรือเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 35 วัน

การกลับไข่
การกลับไข่มีความสำคัญต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็นอย่างยิ่ง จำนวนครั้งของการกลับให้ขึ้นกับองศาของไข่ คือ

กลับไข่ (ครั้ง) กลับไข่ทำมุม (องศา)
2 90
6 45
ทุกชั่วโมง 45

เมื่อย้ายไปตู้เกิดแล้วไม่จำเป็นต้องกลับไข่อีก


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
โค้ด PHP:
http://web.ku.ac.th/agri/ostrich/main.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น