วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

ทคนิค วิธีการจัดการผสมวัสดุสมัยใหม่ทำให้ง่ายขึ้นและดีขึ้น





ดิน ถูกนำมาใช้สร้างบ้านเมื่อราวหนึ่งหมื่นปีก่อน ด้วยความที่มีดินอยู่ทุกหนแห่ง จึงทำให้คนทุกทวีปทั่วโลกใช้ดินสร้างบ้านมาทุกยุคทุกสมัย ทุกวันนี้ประชากรโลกราวหนึ่งในสามยังอยู่ในบ้านที่สร้างด้วยดิน ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน อิหร่าน แอฟริกา และอเมริกาเหนือ ซึ่งมีบ้านดินสูง 5 ชั้น ซึ่งชาวอินเดียนแดง เผ่า Pueblo สร้างและอาศัยมานานกว่า 900 ปีแล้ว เทคนิคการสร้างบ้านดินเริ่มในยุโรป เมื่อ 800ปีที่แล้ว และกระแสบ้านดินเริ่มกลับมาเป็นความหวังของคนระดับรากหญ้าอีกครั้งเมื่อราว สิบกว่าปีที่แล้วนี้เอง





ตอน นี้มีกลุ่มผู้สร้างบ้านดินหลายกลุ่มที่ทำการเผยแพร่วิธีการอยู่ในพื้นที่ ต่างๆทั่วประเทศ ทั้งอาศรมวงศ์สนิท ที่อยากจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเพื่อให้บ้านดินได้มีโอกาสเข้าถึงผู้ที่ ต้องการและมีความจำเป็นทั่วประเทศ และพร้อมให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือ และมีกลุ่มที่รับจ้างสร้างบ้านดินที่มีความพร้อมทางธุรกิจแบบมืออาชีพ มีการสร้างบ้านดินอยู่ทุกพื้นที่ของประเทศ รูปแบบเมื่อเริ่มต้นอาจจะไม่ลงตัวนัก เพราะเพิ่งเริ่มสร้าง เริ่มพัฒนากันได้ไม่นาน ความนิยมยังอยู่ในวงจำกัด ส่วนหนึ่งอาจจะยังไม่เข้าใจหลักการ และยังติดในค่านิยม เพราะมองอย่างฉาบฉวยว่าเป็นเพียงเทคนิควิธีการก่อสร้างอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มองปรัชญาในการสร้างของมัน ซึ่งมีหลักการเหตุผลมากมาย

ประโยชน์ของการสร้างบ้านด้วยดินในเมืองไทย
1. ดินในแถบลุ่มน้ำภาคกลางเรียกได้ว่าเป็นดินเหนียวแทบทั้งสิ้น แม้แต่ทางภาคอีสานก็มีลักษณะเป็นดินเหนียวปนทราย จึงสามารถนำดินมาขึ้นรูปเป็นบ้านดินได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย
2. บ้านดินมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวน คือสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศรุนแรงทั้งหนาวจัดและ ร้อนจัด บ้านดิน มีอุณหภูมิภายใน 24-26 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ เราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย (อุณหภูมิที่เราตั้งแอร์ แบบประหยัดไฟนั่นเอง) อีกทั้งฝาผนังบ้านดินยังสามารถดูดซึมความชื้นได้ดี ดังนั้นบ้านดิน จึงช่วยปรับความชื้นภายในได้เป็นอย่างดี บ้านดินคือบ้านที่มีชีวิต สามารถหายใจได้
3. ช่วยลดการใช้พลังงานและทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
4. ประโยชน์ในการมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับรากหญ้า เพราะบ้านดินเป็นลักษณะการสร้างที่อยู่อาศัยแบบเรียบง่ายโดยการพึ่งตน เองอย่างแท้จริง







บ้าน ดินมีวิธีการสร้างหลายเทคนิค หลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัสดุก่อสร้างที่จะหาได้ในท้องถิ่นด้วย เพราะไม่ได้ใช้ดินล้วนๆ แต่ใช้วัสดุธรรมชาติอื่นๆผสมด้วย แต่ในเมืองไทยมีอยู่ 3 วิธีที่นิยมและเหมาะสมได้แก่

แบบปั้น (Cob) เป็นเทคนิคปั้นบ้านขึ้นเป็นหลังโดยใช้ดินเหนียวผสมกับทรายและฟางข้าวเส้นยาว จากนั้นก็ค่อยๆปั้นขึ้นรูปเป็นผนังและส่วนต่างๆของบ้าน วิธีนี้จะได้บ้านซึ่งเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหลังปั้นขึ้นไปเรื่อยๆจากฐาน โดยสามารถก่อฝาผนังได้สูงประมาณครั้งละ 1 ฟุต แล้วต้องรอให้ดินแห้งสนิท ถึงจะปั้นก่อชั้นต่อไปได้ ผนังของวิธีนี้จะหนาสักหน่อย แต่จะมีความแข็งแรงมาก กว่าเทคนิคอื่นๆ แต่เมื่อแห้งจะมีความแข็งแรงมากและยังพลิกแพลงรูปร่างได้ง่าย คล้ายๆFREE FORM เพราะไม่ต้องคำนึงถึงรูปอิฐความเหลี่ยมหรือเส้นตรง จะเป็นธรรมชาติมาก แต่ก็ต้องใช้เวลาและความละเอียด บ้านดินแบบนี้ เป็นหลักการของ Wall Bearing ตัวกำแพงเป็นส่วนรับน้ำหนักที่ถ่ายจากโครงหลังคาและน้ำหนักของตัวมันเอง ซึ่งหากจะต้องการสร้างบ้านดินให้สูงมากกว่าหนึ่งชั้น ก็จำเป็นจะต้องมีโครงสร้างคานไม้เข้ามาผสมด้วย หลายคนอาจสงสัยว่าความคงทนของบ้านที่สร้างด้วยดินนั้นจะมีมากน้อยขนาดไหน ซึ่งในประเทศจีนก็มีตัวอย่างของบ้านดินที่มีอายุยืนยาวหลายร้อยปี แต่ความพิเศษของบ้านดินน่าจะอยู่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันของชุมชน คล้ายกับการลงแขกเกี่ยวข้าวของชาวไทยในชนบทนั่นเอง

แบบอิฐดิบ (Adobe Brick) เทคนิคนี้ จะใช้วิธีนำดินเหนียวผสมทรายและแกลบ(หรือฟางสั้น) เช่น แกลบ เศษหญ้า หรืออาจจะใช้ฟางข้าว นำมาผสมกับโคลน และปั้นเป็นอิฐดิบ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วจึงนำมาก่อเป็นฝาผนังบ้าน โดยใช้โคลนเป็นตัวประสาน วิธีการสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ง่าย สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว เพราะสามารถทำก้อนดินดิบไว้ได้เรื่อยๆและก่อซ้อนทับกันไปได้เลย มีความแข็งแรง และผนังจะไม่หนามาก เทคนิคนี้เป็นที่นิยมในเมืองไทย แต่อาจต้องใช้แรงงานมาก

แบบโครงไม้ (wattle&daub) เริ่มต้นทำโครงสร้างเป็นไม้สานกันเป็นตาราง และนำฟางชุบด้วยโคลนโปะเป็นฝาผนัง ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการทำยุ้งข้าวของชาวบ้าน การสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ สามารถสร้างได้ง่าย ใช้แรงน้อย ถ้าทำฝาผนังให้หนา มีความแข็งแรง ไม่แพ้การก่อด้วยอิฐดิบ ข้อจำกัดในเรื่องของการฉาบ อาจจะต้องฉาบหลายครั้ง ถ้าต้องการให้ฝาผนังเรียบ และแห้งช้าหากอยู่ในร่ม





วัดดินก็มีด้วยนะครับ พระท่านก็ช่วยกันสร้างเอง

บ้าน ดิน หากต้องการบ้านแบบเรียบง่าย ไม่เน้นความประณีต ต้นทุนจะน้อยกว่าบ้านดินที่ต้องการความสวยงาม ประณีต จำเป็นต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูง และระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างยาวขึ้น การฉาบสีบ้านแบบเรียบง่าย ใช้เวลาเพียงครึ่งวันสำหรับบ้านหลังเล็ก แต่ถ้าหากต้องการผิวที่ละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน จะต้องฉาบสีอย่างประณีตหลาย ๆ ครั้ง ขั้นตอนเหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่ม การรับจ้างสร้างบ้านดินก็มีแล้ว แต่ยังถือเป็นของใหม่ ทั้งในด้านของการบริหารการก่อสร้าง, การออกแบบและคำนวณทางวิศวกรรม, การรองรับทางด้านกฎหมาย ฯลฯ ที่สำคัญคือการสร้างบ้านดินนั้นยังไม่มีสถาบันทางวิชาการแห่งใดมารองรับ, กำหนดมาตรฐาน หรือมีการตรวจสอบคุณภาพ เพราะฉะนั้น ในการตัดสินใจที่จะเลือกผู้รับเหมาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ต้อง การบ้านดิน




การตกแต่งภายในก็ออกแบบได้ไม่เลวทีเดียว นี่ขนาดยังสร้างไม่เสร็จดีนะ

ใน ช่วงเริ่มต้นของการเผยแพร่บ้านดินนั้น เป็นไปเพื่อการเรียนรู้ศักยภาพที่มีในตนเอง, เป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย, ผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตแบบพึ่งตนเองและ หรือต้องการลดการพึ่งพาวงจรภายนอกให้ได้มากที่สุด บ้านดินในยุคแรกนั้นจึงเน้นเรื่องการพึ่งตนเองเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเริ่มเป็นกระแสของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ผู้ที่ต้องการสร้างจึงไม่ใช่กลุ่มชาวบ้านที่ต้องการที่อยู่อาศัยราคาถูก แต่เป็นนักธุรกิจ เช่นสปา หรือผู้ที่มีฐานะดี ที่ต้องการบ้านตากอากาศ Trend ใหม่ จึงมีกลุ่มผู้รับสร้างบ้านดินเกิดขึ้นหลายกลุ่ม ทำให้เกิดการแข่งขันทั้งทางด้านราคาและคุณภาพ แต่ก็มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มซึ่งแอบแฝงมากับกระแสความต้องการบ้านดินเข้ามาหา กินด้วย








แบบบ้านที่ออกแบบจากบ้านดิน.คอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น