วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการกระตุ้นสาร

วิธีที่ 1 การกระตุ้นตามสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ที่จดไว้ในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา

อายุ 5 ปี อายุ 12 ปี อายุ 199 ปี

วิธีที่ 2 การกระตุ้นนวัตกรรมใหม่

** ใช้ระยะเวลาสั้นเพีบง 5 ปี สามารถตัดขายได้ **

การคัดเลือกสายพันธุ์

การเจริญเติบ โตของต้นกฤษณาขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ เหมาะสม และสภาพความสมบูรณ์ของดิน สิ่งแวดล้อมโดยรอบ

พันธุ์ไม้กฤษณาโดยทั่วไป

ไม้กฤษณาเป็นไม้ในป่าเมืองร้อนที่ปลูกง่าย ปลูกได้ในดินหลายชนิด ทั้งดินเหนียว ดินร่วน และดินร่วนปนทราย ฯลฯ และปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว และสม่ำเสมอ จึงมีอายุยืนยาวหลายสิบปี เนื่องมาจากพันธุ์กฤษณาได้มาจากการเพาะเมล็ด จึงมีระบบรากแก้วลึกลงไปในแนวดิ่ง มีรากแขนงและรากฝอยหาอาหารในระดับผิวดินดี พันธุ์ไม้กฤษณาที่ปลูก ควรมีความสูง 50-80 เซ็นติเมตรขึ้นไป หรือ มีอายุอย่างน้อย 8 เดือน-1 ปี

ไม้กฤษณา " พันธุ์ระพี "

เกิดจากการค้นคว้าวิจัย ค้นพบสายพันธุ์กฤษณาที่ดี 2 สายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด คือ สายพันธุ์เอควิลาเรีย คราสน่า และ สายพันธุ์เอควิลาเรีย สับอินทิกร้า นำมาทดลองปลูก "ไขว้สายพันธุ์" เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโต หลังจากพบข้อดีและข้อด้อยของทั้ง 2 สายพันธุ์ จึงได้ทำการค้นคว้าทางด้านพันธุกรรม นำข้อดีของทั้ง 2 สายพันธุ์ผสมรวมกัน ด้วยเคโนโลยีการ "เพาะเนื้อเยื่อ" กระทั่งเป็นจุดกำเนิดของความสำเร็จ สายพันธุ์กฤษณา "พันธุ์ระพี"

ข้อดี ไม่กลายพันธุ์ อัตราการรอดสูง โตเร็ว ให้น้ำมันแน่นอน สามรถหลั่งสารน้ำมันได้ในขณะอายุยังน้อย

เทคนิคการปลูก

การเว้นระยะการปลูก

ระยะห่าง จำนวนปลูก/ไร่

3x3 เมตร 177 ต้น

4x4 เมตร 100 ต้น

5x5 เมตร 64 ต้น

6x6 เมตร 45 ต้น

7x7 เมตร 32 ต้น

8x8 เมตร 25 ต้น

ลักษณะทั่วไป

กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึงขนาด ใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงตั้งแต่ 18-21 เมตร ขึ้นไป วัดโดยรอบลำต้นยาวประมาณ 1.5-1.8 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ต่ำๆ หรือรูปกรวย ลำต้นเปลาตรง มักมีพูพอนที่โคนต้นเมื่อมีอายุมาก เปลือกนอกเรียบ สีเทาอมขาว เปลือกหนาประมาณ 5-10 มล. มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนทั่วไป เปลือกนอกจะปริเป็นร่องเล็กๆ เมื่อมีอายุมากๆส่วนเปลือกชั้นในมีสีขาวอมเหลือง

ชื่อพื้นเมือง

กฤษณา(ภาคตะวันออก)กายูการู กายูกาฮู(ปัตตานี มาเลเซีย) ไม้หอม(ภาคตะวันออก ภาคใต้) อครุ ตคร(บาลี) ติ่มเฮียง(ไม้หอมที่จมน้ำ)(จีน)

Egle Wood, Lignum Aloes, Agarwood, Aloe Wood, Calambac, Aglia ,Akyaw(อังกฤษ)

ชื่อวิทยาศาสตร์

ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ Aquilaria crassna Pierre, A.malaccensis Lamk.(ชื่อพฤกษศาสตร์พ้อง A.agallocha Roxb.)และชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ โดย Dr.Ding Hau คือ Subintegra Ding Hau

ชื่อวงศ์

Thymelaeaceae

ผล เป็นแบบ Capsule รูปไข่กลับค่อนข้างแบน ส่วนที่ติดกับขั้วเล็ก เปลือกแข็ง มีขนสีเทา ผลยาวประมาณ 2.5 ซม.

กว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ในเดือนสิงหาคม ผลเริ่มแก่และแตกอ้ามีเมล็ด 1 หรือ 2 เมล็ด แบบ Ovoid ขนาดของเมล็ดยาว 5-6 ซม. มีหางเมล็ด

สีแดงหรือ ส้ม ปกคลุมด้วยขนสั้นนิ่มสีแดงอมน้ำตาล

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ

ไม้สกุล Aquilaria มีอยู่ประมาณ 15 ชนิด กระจายอยู่แถบเอเชียเขตร้อน ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา ภูฐาน เบงกอล รัฐอัสสัม รวมทั้งกระจายไปทางเอเชียเหนือ จนถึงประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนการกระจายพันธุ์ของไม้กฤษณาในประเทศไทย มีรายละเอียด ดังนี้

1. A.crassna พบในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ(เชียงราย แพร่ น่าน) ภาคกลาง (กำแพงเพรช เพรชบูรณ์ โดยเฉพาะพบมากที่สุดที่บ้านห้วยตะหวัก อำเภอน้ำหนาว บริเวณเขาค้อ)และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครนายก ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี โดยเฉพาะพบมากที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณดงพญาไฟ)

2. A.malaccensis พบเฉพาะภาคใต้ที่มีความชุ่มชื้น (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง กระบี่ ตรัง พัทลุง ยะลา โดยเฉพาะที่เขาช่อง จ.ตรัง)มักพบกฤษณาต้นใหญ่ที่สุดถูกโค่นเหลือแต่ตอทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก

3. A.subintegra พบเฉพาะทางภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด โดยเฉพาะที่เขาสอยดาว)

กฤษณาชอบขึ้นในที่ชุ่มชื้น จึงมักพบตามป่าดงดิบทั้งชื้นและแล้ง หรือที่ราบใกล้กับแม่น้ำ ลำธาร สามารถขึ้นได้สูงถึง 1,100 เมตร หรือมากกว่าจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เช่น พบที่ยอดเขาเขียวบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยทั่วไปมักพบกฤษณาปนพรรณไม้อื่น เช่น ยาง ยมหอม ยมหิน หว้า ก่อเดือย และก่อชนิดอื่นๆ สีเสียดเทศ กระโดงแดงและอื่นๆ ที่บริเวณป่าเขาช่อง จังหวัดตรัง น่าจะเป็นถิ่นที่ดีของกฤษณา พบกฤษณามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100ซม. ซึ่งต่างกับที่พบบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางจะเล็กกว่า 50ซม.

ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมน รูปไข่กลับหรือรูปยาวขอบขนานออกเรียงสลับกัน เนื้อใบเป็นมัน ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 7-9 ซม. ใบแก่เกลี้ยงเป็นมัน แต่ใบอ่อนสั้นและคล้ายไหม

ดอก สีขาว ไม่มีกลีบดอก ออกเป็นช่อเล็กๆมีกลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกิดที่ง่ามใบหรือยอด เป็นแบบ Axillary หรือ Terminal umbles ก้านดอกสั้น มีขนนุ่มอยู่ทั่วไป ตามง่ามใบและดอก ออกดอกในช่วงฤดูร้อน และกลายเป็นผลแก่ในประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

เนื้อไม้ ลักษณะของเนื้อไม้กฤษณาจะมีทั้งเนื้อไม้ปกติ และเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา ซึ่งคนไทยรู้จักจำแนกความแตกต่างตั้งแต่สมัยโบราณ ดังกล่าวถึงในมหาชาติคำหลวงสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ.2025 ว่ามีทั้งกฤษณาขาว(เสตครู) และกฤษณาดำ(ตระคัร) ซึ่งมีเนื้อไม้หอม เนื้อไม้กฤษณา ปกติจะมีสีขาวนวลเมื่อตัดใหม่ๆต่อมาเปลี่ยนเป็นสีนำตาลอ่อน เสี่ยนจะตรง เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าได้ง่าย ขัดเงาไม่ได้ดี ไม่ค่อยทนทาน อยู่ในน้ำจะทนทานพอประมาณ เมื่อแปรรูปเสร็จแล้ว ควรรีบกองผึ่งให้แห้งโดยเร็ว ในการผึ่งมักจะปริแตกได้ง่าย และมักจะถูกเห็ดราย้อมสีเกาะ ทำให้ไม้เสียสี

ส่วนเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา จะมีสีดำ หนัก และจมน้ำ คุณภาพของเนื้อไม้ ขึ้นอยู่กับการสะสมของน้ำมันกฤษณาภายในเซลล์ต่างๆของเนื้อไม้ องค์ประกอบทางด้านเคมี ของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณา ประกอบด้วยสารที่เป็นยางเหนียว(Resin) อยู่มาก สารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม คือ Sesquiterpene alcohol มีหลายชนิด คือ Dihydroagarofuran, b.Agarofuran, a-Agarofuran,Agarospirolและ Agarol


สมัยก่อนประชาชนชาวไทย และ ส่วนราชการจะนำไม้หอมมาประกอบพิธีมงคลในการปลูกสร้าง บ้านเรือน ในพิธีจะนำ/ไม้หอมใส่ลงไปในหลุมเสาเอกของอาคารบ้านเรือนนั้นๆ เพื่อเป็นศิริมงคลของบ้านเรือนผู้อาศัย นำมาบดเข้ายาหอม ยาลม ยาบำรุงหัวใจ แก้เบาหวาน และปวดท้อง นำมาปลูกบริเวณบ้านหรือสวน จะไม่มีผีป่า นางไม้เข้าใกล้ [ความเชื่อของคนรุ่นเก่า]

ศาสดาของพุทธศาสนา เมื่อแรกประสูติในพระหัตถ์ถือดอกบัวข้างหนึ่ง และ อีกข้างหนึ่งถือไม้หอม


ผู้ที่เข้าไปหาของป่า ถ้าไปพักบริเวณต้นกฤษณาจะไม่มีภูตผีต่างๆรบกวน นำไปจุดบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคล ประเทศที่นิยมนำไม้กฤษณามามาบริโภคมากที่สุด คือประเทศ ตะวันออกกลาง และ ยุโรปบางประเทศ เหตุที่ชาวอิสลามมีความต้องการไม้กฤษณาจำนวนมาก เพราะว่า ไม้กฤษณาเป็นเครื่องหอม ประจำกายของชาวอิสลามทั่วโลก การใช้ไม้กฤษณาของ ชาวอิสลามมี 2 ลักษณะคือ

1. นิยมนำไม้กฤษณาเกรด ชั้น 1 หรือเกรดชั้น 2 นำมาบดให้ ละเอียด และนำไปเผาไฟเกิดเป็นความหอมเป็นการต้อนรับแขกที่มาเยือน [แขกที่มาเยือนจะถือว่า ตนได้รับเกียรติจากเจ้าของบ้าน]

2. ชาวอิสลามจะนำไม้ที่ต่ำกว่าข้อ 1 นำมาบดให้ละเอียด ตากให้แห้งแล้ว นำไปแช่น้ำ 1-14 วันนำไปต้มกลั่นเพื่อให้ได้หัวน้ำหอมบริสุทธิ์ ชาวอิสลามทั่วโลกใช้สำหรับเป็นเครื่องหอมประทินผิวกายกันทั้งชายและ หญิง เหตุที่ชาวอิสลามจำเป็นต้องใช้น้ำหอมจากไม้กฤษณา เพราะ น้ำหอมจากไม้กฤษณาเป็นน้ำหอมจากธรรมชาติ ซึ่งไม่มีแอลกอฮอล์ [เหล้า] ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมของ วิสกี้ ในศาสนาอิสลามมีข้อกำหนดอย่าง เคร่งครัดว่าชาวอิสลามทั่วโลก จะแตะต้องวิสกี้ ไม่ได้โดยเด็ดขาด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น