วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553


กระแสนิยม.....บ้านดิน



12 ขั้นตอนสร้างบ้านดิน

" บ้านดิน" สร้างเองก็ได้ง่ายจัง ไม่ต้องจ้างผู้รับเหมา ประหยัดเงินตรา และ ทรัพยากรธรรมชาติ (ไม่ต้องระเบิดภูเขา เอาปูนซิเมนต์ หรือ ทำลายป่า ตัดต้นไม้เยอะ ๆ ) ฤดูร้อนเย็นสบาย ฤดูหนาวแสนอบอุ่น (บ้านดินสามารถปรับอากาศในตัวเองได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องซื้อเครื่องปรับอากาศมาติดให้เปลืองค่าไฟฟ้า)
หากบริเวณบ้านของท่านมีพื้นที่ว่าง ๆ ขอเชิญท่านมาลองสร้างบ้านดินหลังเล็ก ๆ สักหลังหนึ่ง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทดสอบเนื้อดิน นำดินใส่ในแก้วสามในสี่ส่วน เติมน้ำให้ท่วมดิน ใส่เกลือ 1 ช้อนชาคนแล้วคอยให้ตกตะกอน เพื่อสังเกตดูชั้นต่าง ๆ ของเนื้อดิน แบ่งสัดส่วนของแก้วออกเป็น 10 ส่วน สิ่งที่หนักจะตกตะกอนก่อน จะได้ กรวดหิน - -> ทราย หยาบ - - > ทรายละเอียด - - > ดินเหนียว หากชั้นดินเหนียวได้สัดส่วน 2 ในส่วน 10 ส่วน ถือว่าดินนั้นสามารถนำมาสร้างบ้านได้ จากนั้นเติมน้ำลงในดินนวดให้เหนียว ลองปั้นเป็นเส้นกลม ๆ ขนาดนิ้วมือถ้าขาดแสดงว่าดินนั้นยังใช้ไม่ได้(ดินเหนียวเหมาะสำหรับการสร้าง บ้านดินที่สุด ซึ่งสามารถหาได้ทั่วไปในประเทศไทย)

2. หาสถานที่สำหรับเตรียมอิฐดิน ควรจะเลือกทำในบริเวณใกล้ ๆ กับพื้นที่ที่ต้องการสร้างบ้าน เพราะจะลดกำลังในการขนย้ายซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ที่พ้นจากน้ำท่วมถึง

3. การทำอิฐดินเตรียมกระบะสำหรับผสมดินเหยียบนวดดินให้เหนียวหากดินเหนียวมากๆ ควรจะแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืนจะทำให้นวดง่ายขึ้น หากดินเหนียวมาก ๆ ให้ผสมแกลบหรือฟาง (หรือวัสดุใกล้เคียงที่หาได้ในพื้นที่) และทราย ในอัตราทีสังเกตว่าดินที่เหยียบจะไม่ติดเท้าขึ้นมาและเห็นเป็นรอยเท้าบน เนื้อดินถือว่าดินได้ที่แล้ว จากนั้นนำมาเทใส่พิมพ์ไม้ปาดให้เรียบและยกพิมพ์ขึ้นดินจะไม่ติดพิมพ์ในกรณี ที่แดดดี ตากทิ้งไว้ 1 วัน จากนั้นพลิกอิฐดินตั้งขึ้น จะทำให้ดินไม่ติดพื้นและแห้งเร็วขึ้น ตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่ออิฐดินแห้งแล้วจะมีคุณสมบัติเหมือนกับอิฐมอญที่ไว้ใช้ก่อสร้างบ้านทั่ว ไป ซึ่งขนาดดินที่เหมาะสมคือ หนา 4 นิ้ว กว้าง 8-10 นิ้ว ยาว 14 -16 นิ้ว (อิฐดิน 1 ก้อน = 15-20 กิโลกรัม)

4. เตรียมปูนสำหรับโบกอิฐดิน ซึ่งเป็นตัวดินชนิดเดียวกับที่นำมาทำอิฐดิน

5. หลังจากเลือกทำเลหนีน้ำแล้ว ต้องเทพื้นบ้านดินให้สูงพอสมควร หรืออาจสร้างเป็นบันไดสูงขั้นสองขั้น เพื่อหนีความชื้นที่ระเหยมาจากพื้นดิน และป้องกันปลวกใต้ดิน ( อย่างไรก็ดีปลวกไม่กินดิน) ซึ่งการเทฐานบ้านอาจใช้ปูนซิเมนต์เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

6. บ้านดินไม่ต้องใช้เสาในการก่อสร้าง เพราะอิฐดินแต่ละก้อนถือว่าเป็นกำแพงของบ้านและเสาที่มั่นคงแข็งแรง หลังจากเทพื้นแล้ว เริ่มก่อสร้างกำแพงชั้นล่างขึ้นเป็นตัวบ้าน เว้นช่องใส่หน้าต่าง ประตู ซึ่งอาจจะมีวงกบไม้หรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ

7. กรณีบ้านสองชั้นต้องรอให้กำแพงดินชั้นล่างแข็งแรงดีแล้วนำไม้เนื้อแข็ง เช่น ยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ ฯลฯ วางพาด นำไม้กระดานแผ่นใหญ่วางรองรับด้านล่าง เทดินให้ทั่ว ๆ ปกคลุมไม้ที่วางพาดเลย

8. ก่อสร้างหลังคา ชายคา ซึ่งอาจจะใช้ดินหรือวัสดุอื่น ๆ ก็ได้ ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะน้ำเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของบ้านดิน

9. ฉาบกำแพง เพดานให้พื้นเรียบหรือขรุขระตามชอบ

10. การใส่หน้าต่าง ประตู ต้องรอให้ดินแห้งสนิทเสียก่อน เพราะเมื่อดินแห้งจะหดตัวอีก หากใส่กระจกขณะที่ยังไม่แห้ง อาจทำให้กระจกแตกได้

11. ตกแต่งทาสี แนะนำว่าเป็นสีดิน (สีที่ได้จากดิน ซึ่งมีหลายสีด้วยกัน เช่น แดง เหลือง ม่วง เทา แตกต่างกันตามท้องถิ่น) ผสมกับทรายละเอียด เพิ่มความเนียนด้วยกาวแป้งเปียกหรือยางกล้วย (วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในพื้นที่)

12. ตกแต่งภายในตามชอบสามารถปูพื้นด้วยกระเบื้องหรือปล่อยพื้นเปลือย ๆ เป็นศิลปะญี่ปุ่นก็สวยงามดี.


ข้อมูล : นิตยสารสานแสงอรุณ ฉบับที่ 34 ก.ค. - ส.ค. 45/

บทความที่เกี่ยวข้อง :
สองหนุ่มสาวปั้นดินให้เป็นเรือนหอ
รายงานกิจกรรมชาวพุทธหนุ่มสาวสร้างกุฏิดินถวาย
วัดป่าสุคะโต


ออฟฟิตหลังนี้สร้างด้วยดิน งบประมาณก่อสร้างเกือบ 70,000 บาท




พื้นปูกระเบื้อง หลังคาทำด้วยดิน(เคลือบซิเมนต์ ) ่ทำให้อุณหภูมิในบ้านดิน มีความเย็นคล้ายกับเราเปิดแอร์เบาๆ ไว้ตลอดวัน


บ้านหนองเต่า อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่




















ใช้ดินผสมเชือกฝางเพื่อวางพื้นและปรับระดับ






บ่อย่ำดิน


สาธิตสร้างบ้านดินให้เด็กนักเรียน


อาคาร บ่อย่ำและที่วางอิฐถ้าวางใกล้กันจะประหยัดแรงในการขนย้าย



มหกรรมบ้านและที่อยู่อาศัยโลก สนามหลวง กรุงเทพ


















ถ้าใช้ค้อนปอนด์ทุบจะยุบแค่รอยหัวค้อน




ทุบด้วยค้อนไม่ได้ผล จึงต้องใช้รถ6ล้อพุ่งชน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น