วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

ลักษณะและการ จำหน่ายผลผลิตปลานิล
เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล จะมีการจำหน่าย ผลผลิตในหลายลักษณะ ได้แก่ ขายปลีกแก่พ่อค้าต่างๆ ที่เข้ามารับซื้อจาก ฟาร์มซึ่งมีทั้งพ่อค้าขายปลีกในตลาดหรือพ่อค้ารวบรวมในพื้นที่และจากต่าง ท้องถิ่นหรือส่งให้องค์การสะพานปลาขายส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะขายแก่พ่อค้าผู้ รวบรวม 66-71% และนำไปขายแก่พ่อค้าขายส่งที่องค์การสะพานปลา 21% และขาย ในรูปลักษณะอื่นๆ 3-6 %




ราคาและความเคลื่อนไหวของปลานิล

ราคาและผลผลิตปลานิลแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน ตลาดในชนบทมีความต้องการปลาขนาดเล็กเพื่อการบริโภค ซึ่งตรงกันข้ามกับตลาดในเมืองมีความต้องการปลาขนาดใหญ่ ราคาของปลาจึงแตกต่างกัน

ความเคลื่อนไหวของราคาที่เกษตรกรขายได้และราคาขายส่งเป็นไป ในลักษณะทิศทางเดียวกันและขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในการขายปลาโดยปกติราคาขายจะสูงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน สำหรับราคาจำหน่ายที่ฟาร์มอยู่ที่ขนาดของปลาอยู่ระหว่าง 12-15 บาท/กก. สำหรับราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-25 บาท/กก. ผลต่างระหว่างราคาฟาร์มและราคาขายปลีกเท่ากับ 8-10 บาท/กก.

ด้านราคาส่งออกนั้นขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลกเป็นสำคัญ เมื่อประเทศคู่แข่ง เช่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย สามารถผลิตได้มากก็จะทำให้ประเทศไทยส่งขายได้น้อย เพราะเนื่องจากผลผลิตปลานิลแช่แข็งทั้งในรูปปลาทั้งตัวและปลาทั้งตัวควักไส้ มีราคาสู้กับประเทศคู่แข่งไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ราคาปลานิลแล่เฉพาะเนื้อมีราคาอยู่ระหว่าง 75-80 บาท/กก. และสำหรับปลานิลแช่แข็งทั้งตัวอยู่ระหว่าง 30-35 บาท/กก.


ปัญหาการตลาดปลานิลของเกษตรกร
ตลาดปลานิลพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคาและปริมาณการซื้อ โดยที่พ่อค้าคนกลางจะเข้าไปรับซื้อถึงฟาร์ม เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถนำผลผลิตออกมาขายที่ตลาด เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการจับและลำเลียง อีกทั้งยังไม่มีความรู้ในด้านการตลาด

ปัญหาที่สำคัญซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาที่เกษตรกรพบอยู่เสมอ คือ
1.ขนาดพันธุ์ปลา ปลานิลเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้สามารถออกลูกตลอดทั้งปีเป็นปลานิลเพศเมียส่วน ใหญ่และลูกปลาจึงมีขนาดเล็กและไม่ได้น้ำหนักตามที่ผู้ซื้อต้องการ
2. กลิ่นโคลนของเนื้อปลา เนื่องจากปลานิลที่เลี้ยงยังใช้เศษอาหาร วัสดุที่เหลือจากการบริโภค หรือเลี้ยงปลาผสมผสาน ทำให้ปลาแล่เนื้อมีกลิ่นโคลน
3. ปลาที่เกษตรกรจับ ส่วนมากวิดบ่อและปลาตายจำนวนมาก การจับส่งลำเลียงไม่ถูกวิธี เมื่อนำไปบรรจุจะมีแบคทีเรียสูง ทำให้เนื้อปลามีสีเขียว
4. เกษตรกรขาดแคลนเงินทุน ทำให้เมื่อปลามีขนาดโตพอจำหน่ายได้ เกษตรกรจะรีบขายทันที ทำให้ราคาต่ำ

การกำจัดกลิ่นสาบ
กลิ่นที่พบมากในปลาเลี้ยง โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน และเป็นปัญหามากต่อการส่งออก ได้แก่ กลิ่นสาบหรือกลิ่นโคลนแต่เดิมเข้าใจกันว่าอาหารที่ขึ้นราอาจเป็นสาเหตุที่ทำ ให้ปลามีกลิ่นดังกล่าวแต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบค่อนข้างแน่นอนแล้วว่ากลิ่น โคลนในตัวปลาเกิดขึ้นเนื่องจาก ปลาดูดซับสารละลายชนิดหนึ่งในน้ำ เรียกว่า จีออสมิน (Geosmin) เข้าไปทางเหงือก หรือกินตัวการที่ผลิตสารนี้เข้าไปโดยตรงแล้วสะสมสารนี้ในเนื้อเยื่อที่สะสม ไขมันสันนิษฐานกันว่าตัวการที่ผลิตสารนี้ได้แก่ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวบางชนิด เชื้อราและจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยง ตัวการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างหนาแน่นในบ่อที่มีการให้อาหารมากดังนั้นหาก จะกล่าวว่าอาหารเป็นต้นเหตุของกลิ่นโคลนก็เป็นได้ เพราะปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงไม่ใช่คุณภาพของอาหารโดยตรงที่เป็นต้นเหตุ

กลิ่นโคลนไม่ใช่เป็นกลิ่นถาวรที่อยู่กับตัวปลาตลอดไปกลิ่นนี้จะหายไปเมื่อนำ ปลาไปใส่ไว้ในน้ำสะอาดและงดให้อาหารเป็นเวลา 7 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ 24 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้กลิ่นโคลนหมดไปจากตัวปลาเร็วขึ้น การแช่ปลาในน้ำสะอาดเป็นเวลา 7 วัน จะทำให้ปลาสูญเสียน้ำหนักไปประมาณ 5-12 เปอร์เซ็นต์

ปลานิลไม่ต้องการกรดไขมัน w-6 ซึ่งมีมากในน้ำมันปลาจึงไม่ควรใส่น้ำมันปลาในอาหารปลานิล เพราะนอกจากไม่มีประโยชน์ในด้านให้กรดไขมันที่จำเป็นแล้วยังอาจทำให้ปลามี กลิ่นคาวรุนแรงแม้ว่าจะเก็บปลาไว้เป็นปีๆ ก็ตาม

ปลานิลที่ขุนไว้จนอ้วนจะมีเนื้อยุ่ยเหลวเมื่อทำเป็นเนื้อแล่เนื่องจากไขมัน อาหารไปสะสมตามเนื้อมากเกินไป ตามปกติปลาเลี้ยงจะมีไขมันมากกว่าปลาธรรมชาติอยู่แล้วเพราะปลาเลี้ยงได้รับ อาหารเต็มที่เพื่อเร่งให้เจริญเติบโตเร็ว อาหารที่มีไขมันหรือสัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีนสูง จึงทำให้คุณภาพของเนื้อปลาต่ำลง ในทางตรงกันข้ามหากเนื้อปลามีไขมันน้อยเกินไปซึ่งมีสาเหตุมาจากปลาได้รับ อาหารไม่เพียงพอเนื้อปลาจะแห้งและแข็งเกินไปไม่ชวนรับประทาน

ตลาดภายในประเทศ
ปัจจุบันผู้บิโภคภายในประเทศ เริ่มสนใจที่จะบริโภคปลานิลเพิ่มสูงขึ้น และกรมประมงมีโครงการส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้บริโภคภายในประเทศไทยรู้ถึงคุณค่าของอาหารโปรตีนจาก ปลานิลมากขึ้น โอกาสที่การจำหน่ายภายในประเทศจึงน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามไปด้วย

ผลผลิตปลานิลส่วนใหญ่จะบริโภคภายในประเทศ เป็นรูปสด 89% ในการแปรรูปทำเค็ม ตากแห้ง 5% ย่าง 3% และที่เหลือในรูปอื่นๆ

สำหรับปลานิลทั้งตัว และในรูปแช่แข็งก็มีจำหน่ายในประเทศโดยผู้ผลิตคือโรงงานและจำหน่ายให้ ภัตตาคารหรือร้านอาหาร

ตลาดต่างประเทศ
เนื่องจากภาวการณ์ติดต่อและการคมนาคมในปัจจุบันทำให้สะดวก นอกจากนี้ผลต่างของราคาจำหน่ายปลานิลของต่างประเทศยังมีความต้องการปลานิล เพื่อบริโภคสูงตลาดต่างประเทศมีทั้งตลาดในยุโรปตะวันออกกลางสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและเอเชีย โดยปลานิลแช่แข็งที่ส่งออกมีปริมาณไม่มากนัก ในปี2533ประเทศไทยส่งออกปลานิลทั้งในรูปปลานิลแช่แข็งและในรูปแล่เนื้อ ประมาณ111,174.64กก.เพิ่มขึ้น 179,231.72 กก. ในปี 2534 หรือคิดเป็นร้อยละ 61.22

ประเทศคู่แข่งปลานิลแช่แข็งที่สำคัญคือ ไต้หวัน บังกลาเทศ ประเทศเหล่านี้สามารถผลิตปลาที่ได้ขนาด เมื่อนำมาแล่เนื้อจะมีขนาด 40-60 กรัมและ60-80 กรัมต่อชิ้น นั้นคือ ขนาดปลาต้องมีน้ำหนัก 400 กรัม/ตัวขึ้นไปซึ่งการผลิตปลานิลให้มีลักษณะตามต้องการของตลาดต่างประเทศ จึงต้องพิจารณาถึงต้นทุนและกรรมวิธีในการผลิตอย่างรอบคอบ

แนวโน้มการเลี้ยงปลานิลในอนาคต
ปลานิลเป็นปลาที่ตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องจาก จำนวนประชากรมีอัตราการเจริญเติบโตสูงจึงส่งผลต่อแนวโน้มการเลี้ยงปลาชนิด นี้ให้มีลู่ทางแจ่มใสต่อไปโดยไม่ต้องกังวลปัญหาด้านการตลาดเนื่องจากเป็นปลา ที่มีราคาดีไม่มีอุปสรรคเรื่องโรคระบาดเป็นที่นิยมบริโภคและเลี้ยงกันอย่าง แพร่หลายในทั่วทุกภูมิภาคเพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายรูปแบบโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในปัจจุบันปลานิลสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปสู่ต่างประเทศในลักษณะ ของปลาแล่เนื้อ ตลาดที่สำคัญๆ

อาทิ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี เป็นต้น ดังนั้นการเลี้ยงปลานิลให้มีคุณภาพ ปราศจากกลิ่นโคลนย่อมจะส่งผลดีต่อการบริโภค การจำหน่ายและการให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น