บ้านสายรุ้ง ศูนย์เรียนรู้การสร้างบ้านดินได้รับทุนได้รับทุนสนับสนุนจาก สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) แจก ซีดี สอนสร้างบ้านดิน ฟรี ! ภาพยนตร์วีดีโออธิบายทุกขั้นตอนของการสร้างบ้านดิน ตั้งแต่วิธีตรวจสอบดิน วิธีทำก้อนอิฐ การก่อ ฉาบ ติดตั้งประตูหน้าต่าง ฯลฯ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ่แจกฟรีไปแล้วกว่า 4000 แผ่น
ฺ วิธีที่ 1 (แจกฟรี !) ฺผู้สนใจทั่วไป ต้องการรับซีดีสอนสร้างบ้านดิน ฟรี ! กรุณาทำตามกติกาดังต่อไปนี้
- ก ส่งแผ่นซีดีเปล่าจำนวน 1 แผ่น
ข.สอดซองเปล่าติดแสตมป์มูลค่า 5 บาท พร้อมจ่าหน้าซองจ่าหน้าถึงตนเองให้เรียบร้อย (ควรเป็นซองกันกระแทก)
(หมดเขต 31 ธันวาคม พ.ศ.2551 )
( กรุณารอการจัดส่งประมาณ 10 วัน เนื่องจากมีผู้ขอมาเป็นจำนวนมาก )
ฺ
วิธีที่ 2 (บริจาคเงินสนับสนุนโครงการฯ ) ฺ
บริจาคเงินสนับสนุนกิจกรรม "เวบไซต์ budpage.com " เพื่อเป็นทุนสนับสนุนจัดทำเว็บไซต์เผยแพร่พระพุทธศาสนา จัด กิจกรรมอาสา และ เผยแพร่ความรู้สร้างบ้านดินทั่วประเทศ โอนเงินบริจาค 125 บาท เลขที่บัญชี 203 -2-0200-94 ชื่อบัญชี อิศรา สุคงคารัตนกุล ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขายูไนเต็ดเซ็นเตอร์ พร้อมแจ้งการโอนเงินพร้อมชื่อที่อยู่มาที่ budpage@gmail.com หรือโทรแจ้ง 08-6789-8035
ท่านจะได้รับซีดี สอนสร้างบ้านดิน 12 ขั้นตอน (ชุดพิเศษ เตรียมไว้สำหรับผู้บริจาค ) แถม ภาพแบบบ้านดินทั่วโลกประมาณ 300 ภาพ และ คลิปวิดีโอสาธิตวิธีสร้างบ้านดินแบบอื่น ๆ อาทิ cob - super adobe - strawbale - ฯลฯ จากทั่วโลก พร้อมสไลด์โชว์รีสอร์ทบ้านดินจากยุโรปและอเมริกา จัดส่งทาง EMS มายังท่านทันที !
ตัวอย่างภาพบ้านดินในโครงการ"อบรมบ้านดิน"บ้านสายรุ้ง"
บรรยายภาพ สำนักงาน "budpage.com" บ้านดินอโดบีทรงอิสระแบบ"หลังคาดิน"หลังแรกในเมืองไทย ฝีมือผู้เข้าร่วมอบรม 50 คน (ล้วนไม่เคยสร้างบ้านเองมาก่อน) สำหรับ หลังคาดิน เป็นงานวิจัยทดลอง ที่บ้านสายรุ้งได้ใช้งบประมาณในการวิจัย 30,000 บาท เป็นค่าวัสดุก่อสร้าง และ ฝึกแรงงานช่าง
บรรยายภาพ ภาพกุฏิเจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง เป็นบ้านดินชนิดหลังคาดิน เป็นผลงาน workshop ภาคปฏิบัติ ของช่างชาวบ้านจากหมู่บ้านใหม่ไทยเจริญ ที่ได้มาเรียนรู้วิธีสร้างบ้านดินที่ "บ้านสายรุ้ง" (ปัจจุบันช่างกลุ่มนี้ได้ไปทำงานกับกลุ่มบ้านดินไทย)
(หมายเหตุ * บ้านดินแบบหลังคาดิน เป็นงานที่ยังอยู่ในระหว่างการวิจัย ยังไม่แนะนำให้สร้างโดยทั่วไป )
บรรยายภาพ ภาพบ้านดินทรงสี่เหลี่ยม ฝีมือชาวบ้านท่ามะไฟหวานที่ได้มาเรียนรู้วิธีสร้างบ้านดินจากบ้านสายรุ้ง และ นำความรู้กลับไปสร้างบ้านดินด้วยตนเอง
บรรยายภาพ บ้านดินกึ่งบ้านไม้ สร้างโดยช่าง"สนิท" ที่ได้มาอบรมวิธีสร้างบ้านดินจาก"บ้านสายรุ้ง" แล้วนำความรู้ไปสร้างต่อเติมบ้านชั้นล่างให้เป็นบ้านดิน อนึ่ง ช่างสนิทได้ค้นพบวิธีทำสีดินแบบใหม่ด้วยตนเอง (ทรายผสมปูนยากระเบื้อง) ปัจจุบันช่างสนิท เป็นช่างรับเหมาสร้างบ้านดินอีกคนหนึ่ง ที่รับงานอิสระทั่วไป
บรรยายภาพ บ้านดิน "ป้ายง" ฝีมือสร้างของอาสาสมัครหนุ่มสาวที่ไม่เคยมีประสบการณ์สร้างบ้านมาก่อน จำนวน 20 คน ที่ข่วยกันสร้างให้ "ป้ายงซึ่งป่วยเป็นเบาหวาน เราสร้างเสร็จภายใน 2 วัน เดี๋ยวนี้ป้ายงมีบ้านดินนอนเย็นสบายแล้ว ไม่ต้องนอนร้อนทรมานในบ้านเศษไม้มุงสังกะสีอีกต่อไป งานนี้เราใช้งบประมาณเป็นค่าเทคานและพื้นปูนซิเมนต์และช่างช่วยงานปูนเพียง 2000 บาท( ไพหญ้ามุงหลังคา ป้าแกให้ญาติ ๆ ช่วยกันทำนะครับ )
บรรยายภาพ บ้านดิน ฝีมือคุณเคี้ยง ได้มาอบรมสร้างบ้านดินที่บ้านสายรุ้งแล้ว นำความรู้ไปสร้างบ้านด้วยตนเอง ที่จังหวัดลำพูน
บรรยายภาพ ร้านกาแฟสด Coffe bandin ฝีมือคุณณํฐพล ผู้ที่ได้เข้ามารับการอบรมสร้างบ้านดินที่บ้านสายรุ้ง และนำความรู้ไปวิจัยและพัฒนา ปัจจุบันรับเหมาก่อสร้างบ้านดินทั่วประเทศ
กิจกรรม "สอนน้องสร้างบ้านดิน" คือ กิจกรรม สอน เด็กนักเรียนชั้นประถม 4-6 เรียนรู้การสร้างบ้านดิน ภาคทฤษฏีและปฏิบัติ เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพและพึ่งตนเองได้ในอนาคต
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 086789-8035 หรือ 086789-4035
หรือ budpage@gmail.com
สองภาพ ข้างบนนี้ เป็น ฝีมือตกแต่งภายในบ้านดิน ของ "เมคา บันช"์ นักสร้างบ้านดิน ทำงานด้านนี้มาเป็นเวลา 11 ปี บันช์ชำนาญการออกแบบภายใน ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ดิน และ เคยเข้าร่วมโครงการบ้านธรรมชาติ โดยเป็นวิทยากรอบรมให้แก่เจ้าของบ้านที่ต้องการสร้างบ้านด้วยตนเอง ใน อาเจนตินา บราซีล ไทย และ สหรัฐอเมริกา
nbsp; สาธิตวิธีสร้างบ้านดิน
" บ้านดิน" สร้างเองก็ได้ง่ายจัง ไม่ต้องจ้างผู้รับเหมา ประหยัดเงินตรา และ ทรัพยากรธรรมชาติ (ไม่ต้องระเบิดภูเขา เอาปูนซิเมนต์ หรือ ทำลายป่า ตัดต้นไม้เยอะ ๆ ) ฤดูร้อนเย็นสบาย ฤดูหนาวแสนอบอุ่น (บ้านดินสามารถปรับอากาศในตัวเองได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องซื้อเครื่องปรับอากาศมาติดให้เปลืองค่าไฟฟ้า)
หากบริเวณบ้านของท่านมีพื้นที่ว่าง ๆ ขอเชิญท่านมาลองสร้างบ้านดินหลังเล็ก ๆ สักหลังหนึ่ง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- 1. ทดสอบเนื้อดิน นำดินใส่ในแก้วสามในสี่ส่วน เติมน้ำให้ท่วมดิน ใส่เกลือ 1 ช้อนชาคนแล้วคอยให้ตกตะกอน เพื่อสังเกตดูชั้นต่าง ๆ ของเนื้อดิน แบ่งสัดส่วนของแก้วออกเป็น 10 ส่วน สิ่งที่หนักจะตกตะกอนก่อน จะได้ กรวดหิน - -> ทราย หยาบ - - > ทรายละเอียด - - > ดินเหนียว หากชั้นดินเหนียวได้สัดส่วน 2 ในส่วน 10 ส่วน ถือว่าดินนั้นสามารถนำมาสร้างบ้านได้ จากนั้นเติมน้ำลงในดินนวดให้เหนียว ลองปั้นเป็นเส้นกลม ๆ ขนาดนิ้วมือถ้าขาดแสดงว่าดินนั้นยังใช้ไม่ได้(ดินเหนียวเหมาะสำหรับการสร้าง บ้านดินที่สุด ซึ่งสามารถหาได้ทั่วไปในประเทศไทย)
2. หาสถานที่สำหรับเตรียมอิฐดิน ควรจะเลือกทำในบริเวณใกล้ ๆ กับพื้นที่ที่ต้องการสร้างบ้าน เพราะจะลดกำลังในการขนย้ายซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ที่พ้นจากน้ำท่วมถึง
- 3. การทำอิฐดินเตรียมกระบะสำหรับผสมดินเหยียบนวดดินให้เหนียวหากดินเหนียวมากๆ ควรจะแช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืนจะทำให้นวดง่ายขึ้น หากดินเหนียวมาก ๆ ให้ผสมแกลบหรือฟาง (หรือวัสดุใกล้เคียงที่หาได้ในพื้นที่) และทราย ในอัตราทีสังเกตว่าดินที่เหยียบจะไม่ติดเท้าขึ้นมาและเห็นเป็นรอยเท้าบน เนื้อดินถือว่าดินได้ที่แล้ว จากนั้นนำมาเทใส่พิมพ์ไม้ปาดให้เรียบและยกพิมพ์ขึ้นดินจะไม่ติดพิมพ์ในกรณี ที่แดดดี ตากทิ้งไว้ 1 วัน จากนั้นพลิกอิฐดินตั้งขึ้น จะทำให้ดินไม่ติดพื้นและแห้งเร็วขึ้น ตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่ออิฐดินแห้งแล้วจะมีคุณสมบัติเหมือนกับอิฐมอญที่ไว้ใช้ก่อสร้างบ้านทั่ว ไป ซึ่งขนาดดินที่เหมาะสมคือ หนา 4 นิ้ว กว้าง 8-10 นิ้ว ยาว 14 -16 นิ้ว (อิฐดิน 1 ก้อน = 15-20 กิโลกรัม)
4. เตรียมปูนสำหรับโบกอิฐดิน ซึ่งเป็นตัวดินชนิดเดียวกับที่นำมาทำอิฐดิน
5. หลังจากเลือกทำเลหนีน้ำแล้ว ต้องเทพื้นบ้านดินให้สูงพอสมควร หรืออาจสร้างเป็นบันไดสูงขั้นสองขั้น เพื่อหนีความชื้นที่ระเหยมาจากพื้นดิน และป้องกันปลวกใต้ดิน ( อย่างไรก็ดีปลวกไม่กินดิน) ซึ่งการเทฐานบ้านอาจใช้ปูนซิเมนต์เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
6. บ้านดินไม่ต้องใช้เสาในการก่อสร้าง เพราะอิฐดินแต่ละก้อนถือว่าเป็นกำแพงของบ้านและเสาที่มั่นคงแข็งแรง หลังจากเทพื้นแล้ว เริ่มก่อสร้างกำแพงชั้นล่างขึ้นเป็นตัวบ้าน เว้นช่องใส่หน้าต่าง ประตู ซึ่งอาจจะมีวงกบไม้หรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
7. กรณีบ้านสองชั้นต้องรอให้กำแพงดินชั้นล่างแข็งแรงดีแล้วนำไม้เนื้อแข็ง เช่น ยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ ฯลฯ วางพาด นำไม้กระดานแผ่นใหญ่วางรองรับด้านล่าง เทดินให้ทั่ว ๆ ปกคลุมไม้ที่วางพาดเลย
8. ก่อสร้างหลังคา ชายคา ซึ่งอาจจะใช้ดินหรือวัสดุอื่น ๆ ก็ได้ ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะน้ำเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของบ้านดิน
9. ฉาบกำแพง เพดานให้พื้นเรียบหรือขรุขระตามชอบ
10. การใส่หน้าต่าง ประตู ต้องรอให้ดินแห้งสนิทเสียก่อน เพราะเมื่อดินแห้งจะหดตัวอีก หากใส่กระจกขณะที่ยังไม่แห้ง อาจทำให้กระจกแตกได้
11. ตกแต่งทาสี แนะนำว่าเป็นสีดิน (สีที่ได้จากดิน ซึ่งมีหลายสีด้วยกัน เช่น แดง เหลือง ม่วง เทา แตกต่างกันตามท้องถิ่น) ผสมกับทรายละเอียด เพิ่มความเนียนด้วยกาวแป้งเปียกหรือยางกล้วย (วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในพื้นที่)
12. ตกแต่งภายในตามชอบสามารถปูพื้นด้วยกระเบื้องหรือปล่อยพื้นเปลือย ๆ เป็นศิลปะญี่ปุ่นก็สวยงามดี.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น