วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

การเก็บผลผลิต

1. เก็บชิ้นไม้

2. ตัดต้นเพื่อเก็บแก่นกฤษณา

ผลผลิต

ไม้ชิ้นกลั่นน้ำมัน ไม้ตะเคียน ไม้แก่น ไม้แก่น


การขายพันธุ์ มีวิธีต่างๆ ดังนี้

1. การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

2. การขยายพันธุ์โดยการเพาะชำ

3. การขยายพันธุ์โดยการเพาะเนื้อเยื่อ


ตำนานกฤษณา

กฤษณาเป็นพันธุ์ไม้ป่า ดิบแล้งถึงป่าดิบชื้น กระจายพันธุ์อยู่ทางแถบร้อนของเอเชีย ได้แก่ ภาคตะวันออกของอินเดีย บังคลาเทศ ภูฎาน เบงกอล ปากีสถาน ศรีลังกา บางส่วน ของอัสสัม ครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ

ปาปัวนิกินีกฤษณาเป็น พันธุ์ไม้ที่เนื้อไม้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อไม้จากสีขาวเป็นสีน้ำตาลหรือดำเมื่อนำมาเผาไฟ ควันของไม้จะส่งกลิ่นหอมหวานเนื่องจากมีสารกฤษณาแทรกอยู่ในเนื้อไม้

ในประเทศอินเดีย แต่เดิมเป็นประเทศที่มีไม้กฤษณามากที่สุด ประเทศอินเดีย มีอาณาเขตกว้างขวาง คำนวณตามพื้นที่ราว 1 ใน 5 ของโลก มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศจีน และได้ชื่อว่าเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ของโลกแห่งหนึ่ง ประวัติศาสตร์ของอินเดียนั้นได้พัฒนาสืบเนื่องกันมาไม่ต่ำกว่า 5,000 ปี อีกทั้งได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากชนชาติ กรีก อาหรับ เปอร์เซีย และยุโรป ตำนานต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอินเดียมีศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นแหล่งอารยธรรมในตะวันออก เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูไม่อาจบ่งชี้ผู้เป็นศาสดาในศาสนา ได้ เชื่อ เพียงว่าฤาษีผู้ไม่ปรากฏนามตนใดตนหนึ่งเป็นฤาษีที่ยิ่งใหญ่ (มหาฤาษี) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ชาวฮินดูได้ประพฤติปฏิบัติ ผู้เขียนได้ค้นคว้าถึงตำนานความเป็นมาของชื่อ “กฤษณา” จากคัมภีร์ตรีมูรติ ซึ่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด

หลักคัมภีร์ตรีมูรติ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศักราช 800 โดยพราหมณ์ได้แบ่งหน้าที่ ให้ดังนี้

1.พระ พรหม เป็นเทพผู้สร้าง คือสิ่งสมบูรณ์สูงสุด ควบคุมทุกอย่างในจักรวาล สร้างสรรพสิ่งในจักรวาล พระพรหมจึงมีฐานะเป็นเทพเจ้าสูงสุดมีพระมเหสี ชื่อ “พระสรัสวดี”
2.พระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นเทพผู้รักษา ภาพพระวิษณุนิยมทำเป็นรูป 4 กร ทรงตรีขรรค์ คฑา

จักร และสังข์ มีชายา ชื่อ พระลักษมี พระวิษณุ ได้ลงมาอวตารเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับโลกที่ผ่านมามี 9 ปาง ปางที่ 7 คือพระราม ปางที่ 8 คือ ปางกฤษณะ (เกิดมาปราบคนชั่ว) และปางที่ 9 คือปางพระพุทธเจ้า ( สถาปนาศาสนาพุทธ) ปางอวตารเป็นพระพุทธเจ้าของพระวิษณุ ซึ่งพราหมณ์มิอาจหยุดความรุ่งเรืองของพระพุทธเจ้าได้ จึงนำเข้ามาเป็นหลักในศาสนา เพื่อการยอมรับและไม่มีความแตกแยกในสังคมศาสนาในอดีต

3.พระศิวะ (พระอิศวร) เป็นเทพผู้ทำลาย ภาพพระศิวะ นิยมทำเป็นรูปฤาษีนุ่งห่มหนังสัตว์ประทับนั่งบนหนังเสือ มี 4 กร ถือ ตรีศูล ธนู ห้อยพระศอด้วยประคำหัวกะโหลก มีงูเป็นสังวาล มีพระมเหสี คือ พระแม่อุมาเทวี หลักตรีมูรติจึงมีผู้สร้าง ผู้รักษา และ ผู้ทำลาย เป็นการจำลองให้เห็นถึงสังคมมนุษย์ว่าโดยภาพรวมย่อมมีบุคคลสามประเภทที่ปะปน อยู่

พระรูปของพระกฤษณะ มีลักษณะผมมุ่น เสียบดอกไม้ พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือดอกบัว อีกข้างหนึ่งถือขลุ่ย ที่ทำจากไม้ชนิดหนึ่ง ในบรรดาเทพเจ้าของชาวฮินดู พระกฤษณะทรงมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด ตั้งแต่การดำเนินชีวิตในวัยเด็ก จนทรงเจริญวัยมากขึ้น ในที่สุดพระกฤษณะก็กลายเป็นนักปราชญ์ ผู้ปราดเปรื่องในรูปแบบการบูชาแรก ๆ ของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีความสัมพันธ์กันมากระหว่างพืชพันธุ์กับแก่นของความศักดิ์สิทธิ์ ในตำนานมีการใช้ที่นั่งและแท่นดอกบัวกันมาก เทพหลาย ๆ องค์ต่างก็อยู่บนที่นั่งหรือแท่นดอกบัว ซึ่งดอกบัวเปรียบดั่งดวงอาทิตย์เนื่องจากดอกบัวจะบานและหุบตามเวลาที่พระ อาทิตย์ขึ้นและตก ดังนั้นในสมัยฮินดูโบราณจึงกล่าวว่า ดอกบัวเป็นที่อยู่อาศัยของพระอาทิตย์ การใช้สัญลักษณ์ดอกบัว แสดงให้เห็นถึงอะไรที่อยู่เหนือมนุษย์ หรือการเกิดที่ศักดิ์สิทธิ์ ดอกบัวที่งดงามมิได้เกิดจากพื้นดินที่ต่ำต้อย หากแต่เกิดจากผิวน้ำที่บริสุทธิ์เสมอ ไม่มีมัวหมอง ชาวฮินดูนำเมล็ดดอกบัวมาทำเป็นลูกประคำ ถือว่าดอกบัวแทนการกำเนิดที่เหนือธรรมชาติ ที่เป็นสิ่งแรกที่กำเนิดจากน้ำในสมัยโบราณและเป็นสัญลักษณ์แทนความบริสุทธิ์ ที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง

ในทางศาสนาพุทธ ประวัติของพระพุทธศาสนาโดยรวม ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู จากประวัติได้กล่าวไว้ว่า เมื่อพระโพธิสัตว์หลังจากเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรอันเป็นชาติสุดท้าย ก็ไปจุติไปประทับอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อ ประทับที่สวรรค์พอสมควรแล้ว เทพเทวดาในสวรรค์ทุกชั้นจึงอารธนาให้มาจุติในโลก เพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับอารธนา จากตำนานอินเดียในอดีตได้กล่าวไว้ว่า เมื่อประสูติ พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือดอกบัว เช่น เดียวกับพระกฤษณะ พระหัตถ์อีกข้างหนึ่งถือไม้กฤษณา เป็นการแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแนวคิดทางศาสนา

นอกจากนี้ในวรรณคดีไทย เรื่อง “กฤษณาสอนน้องคำฉันท์” เป็นวรรณคดีที่มีมานานตั้งแต่สมัย

กรุงศรีอยุธยาตกทอดมา ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 3 แห่ง กรุงรัตนโกสิน ทรงโปรดให้แต่งใหม่ทั้งหมดโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จพระปรมานุชิตโนรส จนถึงปี พ.ศ. 2377 อันเป็นปีที่พระองค์ทรง ปฎิสังขรวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเสร็จเรียบร้อย โปรดเกล้าให้จารึกความรู้แขนงต่าง ๆ บนแผ่นหินอ่อน ประดิษฐานไว้ รวมทั้งเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์

รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ที่มาของวรรณคดี เรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์เป็นพระองค์

แรกว่า มีที่มาจากประเทศอินเดียวทำให้สามารถติดตามเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ไปจน ถึงที่สุด ซึ่งคือบรรพหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะที่เป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันออก ที่ประพันธุ์โดยฤาษีวยาส ในศาสนาพราหมณ์ ในเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับ พระกฤษณะ และ พระนางกฤษณา

คำว่า “กฤษณะ” หมายถึงผู้ที่มีผิวดำ ส่วน “กฤษณา” จะหมายถึง เนื้อไม้ส่วนที่มีสีดำสะสมเป็น

สารกฤษณา

จากตำนานต่าง ๆที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ในทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ที่

กล่าวถึงคำว่ากฤษณาหลาย ๆ เรื่องพอที่จะกล่าวไว้ว่า กฤษณาเกี่ยวข้องกับคำว่า กฤษณะ หรือมาจากคำว่า

“กฤษณะ” เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เป็น เทพผู้รักษา ซึ่งในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และ ศาสนาพุทธ จึงให้ความเคารพไม้กฤษณาว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ต้องปกป้องรักษาไว้ รวมทั้งในศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ จึงมีการใช้ไม้กฤษณาในพระราชพิธีต่าง ๆ เมื่อไม้กฤษณาเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์จึงไม่สมควรตัดไม้กฤษณาทำลายป่า อีกต่อไป เพราะเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน หากไม่ปลูกทดแทน ทรัพย์สินที่ได้มา จะกลับคืนสู่แผ่นดินในที่สุด

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจิตใจของมนุษย์อย่างชัดเจนเป็นแรงศรัทธาที่พร้อมจะโน้ม

น้าวหรือชักจูงให้ มนุษย์กระทำอะไรก็ตาม ตามความฝันของตัวเองจนบรรลุผลสำเร็จ การเผ้ามองสิ่งที่เกิดในธรรมชาติเช่นกฤษณาอย่างละเอียดอ่อน แล้วแสดงความเคารพเพื่อให้ชีวิตเกิดสมดุลที่จะดำรงอยู่ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการยึดเหนี่ยวจิตใจ และความเชื่อมั่นของคนมาโดยตลอด

การปลูกไม้กฤษณาจึงถือเป็นสิริมงคลของชีวิตเสมือนการจุดธูปหลายล้านดอก และสมควรที่จะใช้

ประโยชน์จากไม้กฤษณา ปลูกเท่านั้น เพราะปัจจุบันไม้กฤษณาปลูกสามารถกระตุ้นให้หลั่งสารกฤษณาได้ เร็วกว่าที่เกิดในธรรมชาติถึง 10 เท่ามีศักยภาพสูงมากพอในเชิงเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น