มี 2 สมาชิก ที่ให้การขอบคุณในหัวข้อที่ ฅนภูไท ตั้งขึ้น |
12-03-2007, 09:48 AM | #2 (permalink) |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน วันที่สมัคร: Apr 2007 กระทู้: 2,739 ให้การขอบคุณ: 9 ได้รับการขอบคุณ 1,016 ครั้ง คะแนน: 247 จาก 177 หัวข้อ | 9. ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วในช่วง เวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้ 10. ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่ หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด 11. นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้ ขั้นตอนการคำนวณคือ 1. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหัวอาหารกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของ สูตรอาหารที่ต้องการผสม ในกรณีนี้คือ 42-19 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 23 2. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลายข้าวกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของ สูตรอาหารที่ต้องการผสม คือ 19-8 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11 3. จากข้อ 1 และข้อ 2 สรุปผลได้ดังนี้คือ ถ้าเรานำหัวอาหาร จำนวน 11 ส่วน มาผสมกับปลายข้าว จำนวน 23 ส่วน เราก็สามารถผสมสูตรอาหารไก่ที่ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ได้ การจัดการเลี้ยงดูทั่วไป การฟักไข่ ลักษณะการฟักไข่ของแม่ไก่บ้าน ยังจัดได้ว่าเป็นลักษณะที่มีคุณประโยชน์ต่อเกษตรกรตามชนบทเป็นอย่างยิ่งใน ทางตรงข้าม การเลี้ยงไก่ในเรือนโรงที่เลี้ยงกันแบบอุตสาหกรรมนั้น ลักษระการฟักไข่ของแม่ไก่จะไม่เป็นที่พึงปรารถนา ดังนั้นไก่ที่เลี้ยงในเรือนโรงใหญ่ ๆ ทั้งไก่เนื้อหรือไก่ไข่ จะไม่พบว่ามีลักษณะการฟักหลงเหลืออยู่อันเนื่องมาก ลักษณะดังกล่าว ได้ถูกคัดทิ้งเพื่อเร่งให้แม่ไก่สามารถให้ไข่ได้มากขึ้น การฟักไข่ของแม่ไก่ยังมีความจำเป็นต่อเกษตรกรเพราะ 1. เกษตรกรมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ต่อไก่พื้นบ้านของตนน้อยมาก ส่วนใหญ่มักเลี้ยงปล่อยไปตามยถากรรม 2. การขยายพันธุ์ของไก่พื้นบ้าน ยังต้องอาศัยวิธีตามธรรมชาติ คือแม่ไก่ฟักเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องลงทุนสูง 3. เกษตรกรยังไม่สามารถที่จะจัดซื้อตู้ฟักไข่มาใช้เองได้ 4. ไม่มีการคัดทิ้งลักษณะการฟัก ในทางตรงข้ามกลับคัดแต่แม่ไก่ที่ฟักไข่ดีเก็บไว้ แล้วมักคัดทิ้งไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ฟักไข่ไม่ค่อยดี เมื่อไก่ที่เลี้ยงอายุได้ประมาณ 7 เดือน ก็จะเริ่มให้ไข่ ผู้เลี้ยงต้องเตรียมภาชนะสำหรับให้แม่ไก่วางไข่อาจจะป็นตะกร้าแบน ๆ รองด้วยฟางข้าวเอาไปวางไว้ตรงจุดใด จุดหนึ่งที่ค่อนข้างจะมืดในคอก หรือในเล้าที่ใช้เลี้ยงไก่ ถ้าหากไม่ได้เตรียมสิ่งดังกล่าวนี้ไว้แม่ไก่จะไปไข่ตามบริเวณในซอกกองไม้ หรือบนยุ้งฉาง ซึ่งอาจทำให้หาไม่พบ และจะทำให้ไข่เน่าเสียไปได้ 1. อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติสำหรับการฟักไข่ ควรเตรียมอุปกรณ์บางชนิดที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการฟักไข่ของแม่ไก่ เพื่อช่วยให้อัตราการฟักออกดีขึ้นดังนี้ 1.1 เตรียมตะกร้า หรือกล่องกระดาษที่ไม่ลึกเกินไป และปูรองพื้นด้วยฟางข้าวที่สะอาดแล้วนำไปวางในมุมมืดที่อากาศสามารถ่ายเทได้สะดวก 1.2 ในระยะแรก ๆ ของการให้ไข่ ควรเก็บไข่ในตะกร้าหรือกล่องทุกวัน ในฤดูร้อนไข่ที่เก็บในฟองแรก ๆ มักฟักไม่ออกเป็นตัว ควรนำไปปรุงเป็นอาหารรับประทานดีกว่าที่จะปล่อยให้ไข่เน่าเสียโดยเปล่า ประโยชน์ 1.3 หลัจากเก็บไข่จากตะกร้าหรือรังไข่แล้ว ควรปิดรังไข่ในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ถ่ายมูลลงในรังซึ่งมีผลทำให้ไข่ฟักสกปรกและอาจเน่า เสียในระหว่างการฟักได้ง่าย 1.4 ถ้ามีตู้เย็น ควรเก็บไข่ฟักไว้ในตู้เย็น โดยหันเอาด้านป้านของไข่คว่ำลงและภาย ในตู้เย็นควรวางขันใส่น้ำไว้เพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำระเหยจากไข่ในปริมาณมากเกินไป 1.5 ในกรณีที่ไม่มีตู้เย็น ควรนำไข่มาวางในบริเวณร่มเย็นที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แดดส่องไม่ถึง และเป็นบริเวณที่สะอาด โดยวางไข่เอาด้านป้านคว่ำลงไม่ควรล้างไข่ด้วยน้ำ แต่ถ้าไข่สกปรก ให้ใช้ผ้าสะอาด เช็ดบริเวณรอยเปื้อนนั้น ถ้าไข่สกปรกมาก ไม่ควรนำไปฟัก 1.6 เมื่อพบว่า แม่ไก่ให้ไข่มากพอควร และเริ่มสังเกตเห็นแม่ไก่หมอบอยู่ในรังไข่เป็นเวลานาน ๆ แล้ว ให้นำไข่ที่เก็บไว้นั้นไปให้แม่ไก่ฟัก (ถ้าเก็บในตู้เย็นควรนำไข่มาวางไว้ข้างนอกเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนเพื่อปรับ อุณหภูมิในไข่ให้เท่ากับอุณหภูมิภายนอก) 1.7 ในระหว่างที่แม่ไก่ฟักไข่อยู่นั้น ควรจัดเตรียมอาหารและน้ำไว้ในบริเวณใกล้ ๆ ที่แม่ไก่ฟัก เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ไก่ทิ้งรังไข่ไปหาอาหารเป็นระยะเวลานาน ๆ 1.8 เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 7 วัน ควรนำไข่ฟักมาส่องดูเพื่อแยกไข่ไม่มีเชื้อหรือไข่เชื้อตาย หรือไข่เน่าออกจากรังไข่ การส่องไข่ การส่องไข่ฟักนั้นจะสามารถเจริญเติบโตออกมาเป็นตัวได้หรือไม่โดยไม่จำเป็น ต้องเคาะไข่ให้แตกทำได้โดยการส่องไข่ การส่องไข่ทำให้สามารถทราบได้ว่าถ้าไข่ฟักฟองนั้นไม่ได้รับการผสมจากตัวผู้ ก็สามารถคัดแยกออกมาประกอบเป็นอาหารบริโภคได้ และยังทำให้ทราบได้ว่าไข่ฟักฟองไหนเป็นไข่เน่า เพื่อแยกทิ้งออกก่อนที่ไข่จะระเบิดภายในรัง ซึ่งจะส่งกลิ่นเหม็นมาก และยังมีผลต่อการฟักออกของไข่ฟักฟองอื่น ๆ ด้วย การส่องไข่สามารถทำได้ 2 แบบ 2.1 แบบกลางแจ้ง ใช้กระดาษสีดำ นำมาม้วนเป็นรูปกรวยโดยให้รูกรวยข้างหนึ่งมีขนาดเท่ากับตาที่จะมองผ่าน ส่วนรูกรวยอีกด้านหนึ่งจะมีขนาดที่กว้างกว่าแต่ไม่ใหญ่กว่าด้านป้านของไข่ ฟัก การส่องทำได้โดยนำด้านป้านของไข่ฟักประกบกันกับรูกรายด้านกว้าง แล้วส่องไข่ในที่กลางแดด เมื่อมองผ่านจากด้านแคบของรูกรวยผ่านความมืดของกรวยกระดาษมากระทบด้านป้าน ของไข่ฟักจะพบลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ถ้าเป็นไข่มีเชื้อจะเห็นเส้นเลือดแตกแขนงเป็นร่างแห ถ้าเป็นไข่ไม่มีเชื้อจะเห็นไข่ทั้งฟองใสโปร่งแสง ถ้าเป็นไข่เชื้อตายจะพบรอยเลือดเป็นรอยเล็ก ๆ หรือจาง ๆ ติดที่ผิวเปลือกไข่ ถ้าเป็นไข่เน่าจะพบว่าไข่ทั้งฟองจะมืดทึบไม่พบเส้นเลือดใด ๆ และมักจะเริ่มส่งกลิ่นเหม็นออกมาก่อนที่จะระเบิด 2.2 แบบมืด จะทำในเวลากลางวัน หรือกลางคืนก็ได้ ถ้าทำในเวลากลางวันจำเป็นต้องทำในห้องมืดที่มีแสงผ่านน้อยมาก หลักการคือการใช้กระบอกไฟฉายประกบกับกรวยกระดาษดำด้านหนึ่ง ส่วนปลายของกรวยอีกด้านหนึ่งสำหรับประกบที่ไข่ฟัก ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าด้านป้านของไข่ฟัก เวลาส่องไข่ก็เปิดสวิสท์กระบอกไฟฉาย ซึ่งก็จะทำได้ สามารถคัดแยกไข่ที่ไม่ต้องการออกได้เช่นเดียวกับแบบสว่างที่กล่าวไว้ข้างต้น การกกลูกไก่ ธรรมชาติของไก่พื้นบ้าน เมื่อฟักลูกไก่ออกแล้วยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู โดยหาอาหารตาม ธรรมชาติและป้องกันภยันตรายทั้งหลายจนลูกไก่อายุประมาณระหว่าง 6-10 สัปดาห์ แม่ไก่จึงจะปล่อยให้ลูกหากินตามอิสระ การที่แม่ไก่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกไก่นั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้นได้ดังนี้ ในระหว่างการเลี้ยงลูกนั้น แม่ไก่จะหยุดการให้ไข่โดยสิ้นเชิง ทำให้การออกไข่ของชุดต่อไปล่าช้า อัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนจากร้อนจัดแล้วฝนตก ทำให้ลูกไก่ได้รับสภาวะเครียด ถ้าปรับตัวไม่ทันมักจะตาย ในแหล่งที่มีอาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ย่อมทำให้ลูกไก่ได้รับอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำลง เป็นผลทำให้ลูกไก่ตายด้วยโรคแทรกซ้อนได้ง่าย จำนวนลูกไก่ที่ฟักได้ต่อปีต่อแม่ไก่ลดลง ผลเสียดังกล่าวข้างต้น โดยปกติเกษตรกรมักมองข้ามและไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะราคาไม่สูงเหมือนกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ในราคาสูง ๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าเกษตรกรจะยอมลงทุนบ้าง และให้ความเอาใจใส่เพิ่มขึ้นอีกเล้กน้อยก็จะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าวได้ มากพอควร ซึ่งอาจเพียงพอที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขทำได้โดยการแยกลูกไก่จากแม่ไก่มากเองภายในคอกไก่ การกกลูกไก่ คือการให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่โดยอาศัยความอบอุ่นจากหลอดไฟฟ้า หรือลวดร้อน หรือเตาถ่าน เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเสมือน บริเวณใต้ปีกไก่ของแม่ไก่ที่คอยให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ นั่นเอง อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้สำหรับการกกลูกไก่ประกอบด้วย 3.1 วัสดุรองพื้นคอก ที่นิยมใช้คือ แกลบเพราะหาได้สะดวก หรือจะเป็นพวกขี้เลื่อย หรือฟางข้าวแห้งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวพอประมาณก็ได้ 3.2 แผงกั้นกกลูกไก่ อุปกรณ์ชนิดนี้มีไว้สำหรับจำกัดบริเวณลูกไก่ให้อยู่เฉพาะบริเวณที่มีความ อบอุ่น และมีอาหาร ลูกไก่แรกเกิดนั้น จะยังไม่คุ้นเคยว่าบริเวณใดอบอุ่น ถ้าไม่มีแผงกั้นกก ลูกไก่อาจเดินหลงไปตามมุมคอกไก่ซึ่งความอบอุ่นไปไม่ถึง ย่อมส่งผลสูญเสียต่อการเลี้ยง แผงกั้นกกอาจทำจากไม้ไผ่ หรือวัสดุชนิดใดก็ได้ที่กั้นแล้วลูกไก่ลอดผ่านไม่ได้ โดยมากมักวางแผงกั้นกกเป็นรูปวงกลมจะดีกว่าวางเป็นรูปเหลี่ยม 3.3 หลอดไฟฟ้า หลอดไฟ 100 วัตต์พร้อมฝาโป๊ะ 1 ชุด สามารถใช้กกลูกไก่ได้ประมาณ 10-50 ตัว แต่ในหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้า อาจดัดแปลงใช้เตาถ่านที่ยังมีความร้อนอยู่วางไว้บริเวณกึ่งกลางของแผงกั้นกก แล้วใช้แผ่นสังกะสีล้อมรอบเตาถ่ายนั้น ไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เดินชน หรือโดดลงไปในเตาถ่าน 3.4 ม่านกั้นคอกไก่ มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ลมฝนผ่านเข้าในคอกในระยะการกก ม่านนั้นอาจทำจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น พวกถุงปุ๋ยเก่า ๆ หรือพวกพลาสติก ซึ่งต้องนำมาล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำเป็นม่าน 3.5 ที่ให้น้ำและอาหาร อาจทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก หรือทำจากยางรถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ ก็ได้ แต่ขนาดของยางไม่ควรกว้างและลึกเกินไป การกกลูกไก่นั้น จะใช้เวลาประมาณ 3-5 สัปดาห์ ส่วนในฤดูร้อนจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ การกกในฤดูร้อนในช่วงกลางวันไม่จำเป็นต้องเปิดกกเพราะอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว บางครั้งยังต้องเปิดม่านเพื่อให้ลมพัดผ่านระบายความร้อนภายในคอกออกไปด้วย ส่วนในเวลากลางคืน ควรเปิดกกและปิดม่านให้เรียบร้อย |
| |
12-03-2007, 09:51 AM | #3 (permalink) |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน วันที่สมัคร: Apr 2007 กระทู้: 2,739 ให้การขอบคุณ: 9 ได้รับการขอบคุณ 1,016 ครั้ง คะแนน: 247 จาก 177 หัวข้อ | การตอนไก่ เป็นวิธีที่จะลดพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวของไก่เพศผู้ลงทำให้ได้เนื้อไก่ที่ นุ่มและรสชาติดีกว่าไก่ที่ไม่ตอน การตอนไก่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการทำให้ไก่มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตเร็ว ขึ้น หากเพื่อต้องการให้อาหารที่กินเข้าไปนั้นไปสะสมเป็นไขมันแทรกเนื้อทำให้ คุณภาพเนื้อดีขึ้น วิธีการตอนไก่ทำได้ 2 วิธี คือ 4.1 การตอนแบบผ่าข้าง วิธีการนี้เป็นการตอนแบบถาวร หมายถึงการที่จะผ่าและนำเอาลูกอัณฑะออก ขนาดของไก่ที่เหมาะสำหรับการตอนแบบนี้ควรหนักประมาณ 0.7 กิโลกรัมขึ้นไป และน้ำหนักหลังการตอนที่เหมาะต่อการส่งตลาดควรหนักประมาณ 300-4.0 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ไก่ ก่อนที่จะลงมือตอนควรจะจับไก่ขังไว้ให้อดน้ำอดอาหารประมาณ 24 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 12 ชั่วโมง จุดประสงค์เพื่อจะให้ในท้องไม่มีอาหารลำไส้แฟบ จะทำให้ตอนได้สะดวกเพราะมองเห็นลูกอัณฑะชัดเจน และเลือดจะแห้งเร็ว รายละเอียดขั้นตอนวิธีการตอนแบบผ่าข้างจะไม่อธิบายไว้ในที่นี้เพราะการตอน แบบนี้ต้องอาศัยความชำนาญ จึงจะไม่เป็นอันตรายต่อไก่ที่จะตอน ผู้ที่สนใจควรศึกษาและฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญเสียก่อน การตอนจึงจะได้ผล เมื่อตอนเสร็จสามารถให้น้ำและอาหารได้ทันที แต่ควรจำกัดเรื่องอาหารบ้างเพราะมิฉะนั้นไก่จะกินอาหารมาก เพราะอดอาหารมานานจะทำให้ลำไส้ขยายใหญ่หลุดออกมานอกรอยแผลได้ อาหารที่ให้ไก่ตอนควรเป็นอาหารที่มีพลังงานสูงเพราะต้องการให้ไก่สะสมไขมัน แทรกเนื้อ ส่วนน้ำที่ให้ควรจะเสริมยาปฏิชีวนะให้ด้วย) หลังจากนั้นให้สังเกตลักษณะของไก่ถ้าพบว่าหงอน เหนียง หน้าเริ่มซีดและไก่ลดอาการเคลื่อนไหวงโดยจะไม่มีการไล่จิกตีกัน แสดงว่าการตอนของเราได้ผลแต่ถ้าพบว่าหงอน เหนียง หน้ายังแดงอยู่แสดงว่าการตอนของเราไม่ได้ผล สาเหตุใหญ่เพราะดึงลูกอัณฑะออกไม่หมด ไก่ที่ตอนโดยวิธีผ่าข้างนี้ควรจำหน่ายหลังจากที่ตอนแล้วอย่างน้อย 3-4 เดือน จึงจะได้น้ำหนักดี เพราะหลังจากตอนใหม่ ๆ น้ำหนักจะยังเพิ่มขึ้นช้ากว่าพวกที่ไม่ได้ตอน เพราะไก่เกิดภาวะเครียดระหว่างการตอน แต่หลังจาก 2 เดือนไปแล้วน้ำหนักไก่ตอนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 4.2 การตอนแบบฝังยา การตอนแบบนี้ได้เปรียบกว่าการตอนแบบผ่าข้าง คือไม่เกิดภาวะเครียดกับไก่ เพราะไม่จำเป็นต้องอบน้ำอดอาหารอีกทั้งไก่ไม่ต้องเสียเลือดด้วย อุปกรณืที่ใช้ในการตอนก็มีเพียงเข็มสำหรับฉีดเม็ดยาเท่านั้น วิธีการฝังยาโดยการดึงขนบริเวณส่วนหัวของไกที่เราจะฝังออกหลังจากนั้นนำเอา เม็ดยาใส่ในเข็ม จับปลายแหลมของเข็มแทงลงไปใต้ผิวหนังบริเวณส่วนหัว โดยแทงลงมาทางคอเพื่อป้องกันไม่ให้เม็ดยาหลุดหายเวลาไก่ยืน จากนั้นก็ดันให้เม็ดยาเข้าไปฝังไว้ใต้ผิวหนัง หลังจากการฝังยาประมาณ 10-14 วัน จะพบว่าไก่เพศผู้ดังกล่าวจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจะหยุดจิกตีกัน หงอนและหน้าเริ่มซีด และถ้าทำในพ่อไก่พันธุ์อาการที่เคยขันจะหลุดไป บางครั้งการตอนแบบฝังยามักทำในไก่เพศเมียที่ไข่น้อย ต้องการตัดทิ้งหรือในพ่อไก่พันธุ์ที่คัดทิ้ง โดยจะฝังยาก่อนจะจำหน่ายประมาณเดือนกว่า ๆ ทำให้ได้เนื้อไก่ที่นุ่มขึ้นไม่ถึงกับเหนียว ข้อควรระวังของการรับประทานไก่ที่ตอนโดยวิธีฝังยาคือบริเวณคอไก่ถึงหัวไก่ ไม่ควรรับประทาน ควรจะทิ้งเพราะว่าตัวยายังอาจสลายไม่หมด มีผลตกค้างซึ่งเมื่อคนกินเข้าไป อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นในหลายประเทศที่เจริญแล้วจึงบังคับไม่ให้ใช้ยาดังกล่าวสำหรับตอนไก่ การตอนไก่แบบนี้ ถ้าตอนในระยะที่ไก่มีน้ำหนัก 0.7-0.8 กิโลกรัม ยา 1 เม็ด (ซึ่งจะหนักประมาณ 15 มิลลิกรัม) จะอยู่ได้นานประมาณ 6 อาทิตย์ ถ้าน้ำหนักไก่ยังต่ำไปก็ควรจะฝังยาต่ออีก 1 เม็ด เพราะถ้าไม่ฝังยาต่อไก่จะกลับมาแสดงพฤติกรรมเหมือนไก่เพศผู้เช่นเดิม โดยจะเริ่มจิกตีกัน หงอนเหนียงจะหน้าเริ่มแดง น้ำหนักของไก่หลังตอนควรจะได้ประมาณ 3-4 กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ตลาดต้องการ การป้องกันและรักษาโรค โดยทั่วไป การเลี้ยงไก่แบบชาวบ้านแต่ละปีจะเกิดโรคระบาดเป็นสาเหตุทำให้ไก่ตายปีละมาก ๆ บางครั้งอาจตายเกือบทั้งหมู่บ้านทั้ง ๆ ที่ไก่บ้านเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างจะทนทานต่อโรคเมื่อเทียบกับพันธืแท้อื่น ๆ ก็ตาม ดังนั้นถ้าหากสามารถลดอัตราการตายได้จะยังผลทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนไก่ลูกผสมพันธุ์โรคกับไก่พื้นบ้านเมื่อจะนำไปเลี้ยงแบบชาวบ้านก็จำเป็น หาทางป้องกันโรคไว้ก่อนเสมอ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ๆ 1. การทำวัคซีน การทำวัคซีนจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับสิ่ง แปลกปลอมที่มีชีวิต ที่บุกรุกเข้าไป ดังนั้นวัคซีนก็คือสิ่งแปลกปลอมที่ถูกทำให้อ่อนแรงหรือถูกทำให้ตายแวก็ได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ก็จะเริ่มสร้างภูมิต้านทาน ขึ้นต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอมชนิดนั้น ๆ ที่เจาะจง ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนหลายชนิดด้วยกันที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับป้องกัน โรคไก่ แต่ก็มีโรคไก่อีกหลายโรคที่ยังไม่สามารถจะผลิตเป็นวัคซีนออกมาใช้ได้ ข้อควรปฏิบัติหรือข้อควรจำในขณะที่ให้วัคซีนไก่คือ 1. ต้องทำวัคซีนในขณะที่ไก่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงเท่านั้น 2. ควรทำวัคซีนในขณะที่อากาศเย็นสบาย คือ ช่วงเช้า หรือเย็น การทำวัคซีนในขระที่อากาศร้อน จะสร้างภาวะเครียดให้กับไก่เพิ่มขึ้นและอาจก่อให้เกิดความสูญเสียได้มาก 3. การให้วัคซีนควรปฏิบัติตามคำแนะนำของชนิดวัคซีนนั้น ๆ ว่าจะให้ได้ในทางใดบ้าง เช่น ให้โดยวิธีการแทงปีก หรือวิธีการหยอดจมูก 4. ก่อนและหลังการทำวัคซีน 1 วัน ควรละลายยาป้องกันความเครียดให้ไก่กิน 5. วัคซีนควรเก็บไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตามชนิดของวัคซีนนั้น ๆ 6. วัคซีนที่ผสมเสร็จแล้วควรรีบนำไปให้ไก่ทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะวัคซีนจะเสื่อม และไม่ควรให้แสดงแดดส่องถูกวัคซีนโดยตรง 7. ขวดวัคซีนที่ใช้แล้วควรนำไปฝังดินลึก ๆ หรือนำไปเผาหรือต้มให้เดือดก่อนทิ้ง 8. ควรจำไว้ว่าการทำวัคซีนนั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะให้ผลป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะผลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก วัคซีนไก่ชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ และเกษตรกรควรทราบมีดังนี้ 1.1 วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า โรคกะลี้หรือโรคห่า ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส ถ้าเกิดโรคระบาดขึ้นอัตราการตายจะสูงมาก บางครั้งอาจตายหมด วัคซีนชนิดนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.1.1 สเตรน เอฟ (F)เป็นชนิดที่ใช้ทำในระยะลูกไก่ อายุลูกไก่ที่เหมาะสำหรับการทำวัคซีนชนิดนี้คือ อยู่ระหว่าง 1-3 สัปดาห์ วิธีการให้จะทำโดยการหยอดตาหรือหยอดจมูก 1.1.2 สเตรน เอ็ม พี (MP) เป็นชนิดที่ใช้สำหรับไก่ที่เคยผ่านการทำวัคซีนนิวคลาสเซิล เสตรน เอฟมาก่อน วิธีการให้โดยใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือแทงปีก 1.2 วัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ เป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น กัน อายุไก่ที่เหมาะสำหรับการทำวัคซีนชนิดนี้คือ 1-3 สัปดาห์ อาการที่พบคือลูกไก่มักจะยืนอ้าปากหายใจ ถ้าเปิดซากพิสูจน์ จะพบว่า บริเวณหลอดลมที่ส่วนคอจะมีรอยเลือดสีแดงเข้มการให้วัคซีนชนิดนี้ทำโดยวิธี หยอดจมูก หรือหยอดตา 1.3 วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส มักพบแพร่ระบาดอยู่ทั่วไป เพราะยุงจะเป็นพาหะของโรค อัตราการตายอันเนื่องจากโรคนี้ไม่สูงมากนักแต่ความแข็งแรงของไก่จะลดง ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ไก่ที่เกิดโรคนี้ไม่สามารถที่จะจำหน่ายได้ เพราะตามบริเวณหน้าและแข้งขาจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ กระจายไปทั่วตัวทำให้ดูน่าเกลียด การทำวัคซีนชนิดนี้สามารถทำควบคู่พร้อมกับวัคซีนนิวคลาสเซิล หรือหลอดลมอักเสบอย่างใดอย่างหนึ่งได้ การใช้วัคซีนชนิดนี้จะใช้วิธีการแทงปีก และให้เพียงครั้งเดียวไก่ก็สามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้ตลอดชีพ ซึ่งต่างจากวัคซีนนิวคลาสเซิลและหลอดลมอักเสบ ที่จำเป็นต้องทำเป็นระยะ ๆ 2. การใช้ยาปฏิชีวนะ 2.1 สภาวะเครียด อัตราความสูญเสียของการเลี้ยงไก่โดยปล่อยให้หาอาหารตามธรรมชาติเองนั้น มีส่วนหนึ่งที่เนื่องมาจากความแปรปรวนของอากาศที่จะทำให้ไก่เกิดสภาวะเครียด เป็นเหตุให้ไก่ต้องปรับสภาพร่างกาย ตัวไหนปรับไม่ทันย่อมแสดงอาการป่วย ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค และตายในที่สุด สาเหตุต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะเครียดกับไก่นั้นมีดังนี้ อากาศร้อนจัดแล้วเปลี่ยนเป็นฝนตกทันที ลมกรรโชกรุนแรงตลอด การไล่จับไก่ที่อาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือของสัตว์ชนิดอื่น ไก่ได้กินอาหารไม่เพียงพอ การทำวัคซีนไก่ การนำไก่จากต่างถิ่นมาเลี้ยงรวมกัน เปลี่ยนอุปกรณ์การเลี้ยงไก่อย่างกระทันหัน ไก่ที่เริ่มแสดงอาการป่วย เป็นต้น สภาวะเครียด ในไก่สามารถป้องกันได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือพวกไวตามินรวมละลายน้ำให้ไก่ดื่มล่วงหน้าก่อนหรือในวันที่พบว่าไก่ได้ เผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดขึ้นแล้ว การใช้ยาป้องกันสภาวะเครียดจะส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของไก่เป็นไปด้วยดี ไม่ชะงักงัน ซึ่งจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงรอดสูงขึ้น และได้ไก่ที่มีคุณภาพดีด้วย 2.2 โรคหวัด โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกและมักพบว่าเป็นปัญหาต่อการเลี้ยงไก่บ้านมาโดย ตลอด โดยเฉพาะในฤดูฝน คือ โรคหวัด อาการที่พบคือ ตาหรือหน้าจะบวม ในโพรงจมูกจะอุดตันด้วยเมือกที่มีกลิ่นเหม็นคาว การรักษาควรใช้ยาตระกูลซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน 2.3 โรคพยาธิ โรคอื่น ๆ ที่พบบ่อย ๆ ในการเลี้ยงไก่แพื้นบ้านคือโรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก เช่น เหา ไร และพยาธิภายใน การป้องกันโรคพยาธิคงทำได้ยาก เพราะต้องปล่อยไก่ออกหาอาหารเองตามธรรมชาติ ซึ่งไก่ย่อมได้รับไข่พยาธิที่แพร่กระจายอยู่ตามพื้นดินเข้าไป แต่การป้องกันรักษาก็ยังพอทำได้ การรักษาโรคพยาธิภายนอกอาจทำได้โดยการจับไก่จุ่มลงในน้ำที่ละลายด้วยยาฆ่า แมลงพวก เซฟวิ่น ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำ 1 แกลลอน หรือใช้มาลาไธออน 1 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำ 1 แกลลอนก็ได้ การจับไก่จุ่มควรใส่ถุงมือยางให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ยาถูกดูดซึม ผ่านเข้าทางผิวหนังของมนุษย์ ในระหว่างการจุ่มยานั้นควรใช้มือลูบย้อนขนไก่ เพื่อให้ยาส่วนมากแทรกซึมเข้าไปตามซอกขนไก่ การกำจัดพยาธิภายในก็ใช้ยาถ่ายพยาธิผสมในอาหารให้ไก่กินซึ่งประสิทธิภาพของ ยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน บางชนิดมีประสิทธิภาพเพียงแค่ขับพยาธิออกจากร่างกายเท่านั้น แต่บางชนิดจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าพยาธิได้ ซึ่งการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้านนี้ควรถ่ายพยาธิโดยใช้ยาที่สามารถฆ่าพยาธิได้ เพื่อป้องกันไม่ให้พยาธิที่ถูกขับออกมาแต่ยังไม่ตายกลับเข้าไปในตัวไก่ได้ อีก |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น