11-26-2007, 08:23 PM | #2 (permalink) |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน วันที่สมัคร: Apr 2007 กระทู้: 2,739 ให้การขอบคุณ: 9 ได้รับการขอบคุณ 1,016 ครั้ง คะแนน: 247 จาก 177 หัวข้อ | การเริ่มต้นเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ การเลี้ยงหมูป่าขั้นแรกจะต้องซื้อลูกมาเลี้ยงเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่พันธุ์ เสียก่อนเพราะหากจะเลี้ยงเพื่อส่งตลาดราคาลูกหมูป่าค่อนข้างแพงอาจไม่คุ้ม ทุน ดังนั้นถ้าใครจะเลี้ยงขยายพันธุ์แล้วควรใช้อัตราส่วนพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 7 - 10 ตัว ส่วนราคาของหมูป่าจากฟาร์มขณะนี้ทราบว่าขายคู่ละ 3500-5000 บาท เป็นหมูป่าอายุตั้งแต่หย่านม คือ 60 - 90 วัน ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ หนึ่ง ๆ สามมารถใช้งานได้จนถึงอายุนานนับสิบปี ลักษณะที่ดีของหมูป่าที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ จะมีดังนี้ คือ รูปร่างสูงโปร่ง สันหลังตรงและยาว ส่วนไหล่หนา (ผานไหล่) หนาและกว้าง สะโพกกว้าง สำหรับพันธุ์หมูป่าที่จะใช้ทำพันธุ์ก็มีด้วยกัน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้าสั้น และพันธุ์หน้ายาวทั้งสองพันธุ์นี้มีข้อแตกต่างกันก็ตรงที่หมูป่าพันธุ์หน้า สั้นนั้นจะมีขนสีดำทั้งตัว มีลำตัวอ้วนกลมตัวเตี้ย และมีหน้าผากกว้างหูใหญ่กว่า พันธุ์หน้ายาวเท่าที่สังเกตดูหมูป่าพันธุ์นี้มีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างดี แต่ทว่าเมื่อเปรียบเทียบในเรื่องความแข็งแรงแล้วจะสู้พันธุ์หน้ายาวไม่ได้ สำหรับหมูป่าพันธุ์หน้ายาวนั้นจะมีขนไม่ค่อยเข้มเท่าใดนัก (คือมีสีดอกเลา) มีลำตัวค่อนข้างแคบ รูปร่างสูงโปร่ง และมีหน้าผากแคบ หูเล็กกว่าพันธุ์หน้าสั้น ทางด้านการเจริญเติบโตให้เนื้อหนังสู้พันธุ์หน้าสั้นไม่ได้ แต่ทว่าหมูป่าพันธุ์นี้มีความแข็งแรง หรือมีน้ำอดน้ำทนดีกว่ามาก ส่วนการผสมคัดเลือกพันธุ์นั้นก็มี 2 แบบด้วยกัน คือ การเอาพันธุ์แท้ผสมกับพันธุ์แท้ด้วยกัน ซึ่งก็ทำโดยผสมคัดเลือกพันธุ์ระหว่างพันธุ์หน้ายาวกับพันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้นกับพันธุ์หน้าสั้น การผสมคัดเลือกพันธุ์ระหว่างพันธุ์หน้าสั้นกับพันธุ์หน้ายาว หรือที่เรียกกันว่าลูกผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้เป็นการรวบรวมเอาความดีของทั้งสองสายพันธุ์เข้าด้วย กัน เช่น พันธุ์หน้าสั้นมีการเจริญเติบโตที่ดี แต่พันธุ์หน้ายาวจะมีความแข็งแรงกว่า เมื่อนำมาผสมกันแล้วก็จะได้ลูกผสมที่มีความดีของทั้งสองพันธุ์เข้าด้วยกัน คือ มีทั้งการเจริญเติบโตที่ดีและความแข็งแรง การเป็นสัดของหมูป่า โดยปกติหมูป่าตัวเมียจะเป็นสัดเร็วมากบางตัวมีอายุเพียง 8 เดือน ก็เริ่มเป็นสัดแล้วจึงส่งผลทำให้การผสมพันธุ์ทำได้ค่อนข้างยากโดยเฉพาะหมู ป่าที่ตัวเมียยังมีขนาดเล็ก แต่ตัวผู้มีขนาดใหญ่ทุลักทุเลถึงกับต้องสร้างเปลให้หมูป่าตัวเมียเพื่อช่วย ลดน้ำหนักตัวผู้ที่ขึ้นผสมพันธุ์ ซึ่งการผสมพันธุ์ครั้งแรกจะได้ลูกไม่ดกนัก แต่ก็ถือว่าเป็นการฝึกไปในตัว พอมีอายุมากขึ้นหน่อยลูกหมูป่ามีลูกดกขึ้นมาเอง ปกติหมูสาวแรกจะให้ลูก 4-6 ตัว พอมีอายุมากขึ้นอาจให้ได้ถึง 10-12 ตัว และมีบางตัวที่ให้ลูกมากกว่านี้แต่มักจะเลี้ยงไม่รอด เพราะหมูป่ามีนมเลี้ยงลูกแค่ 10 เต้าเท่านั้นเอง อย่างไรก็ตามหมูป่าสาวที่เริ่มเป็นสัดควรจะฝึกให้ผสมพันธุ์เสียตั้งแต่ต้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อโตขึ้นมีอายุมากจะไม่ยอมให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ ถึงแม้จะเป็นสัดก็ตามที อันนี้จึงเป็นข้อคิดที่ขอฝากไว้ว่า อย่าปล่อยไว้จนขึ้นคานเป็นอันขาด การเป็นสัดของแม่หมู่พันธุ์นั้นก็สามารถสังเกตได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากผู้เลี้ยงไม่คุ้นเคยกับการเลี้ยงหมูป่าก็อาจจะสังเกตไม่ออกว่าแม่ หมูพันธุ์นั้นเป็นสัดแล้ว เพราะการสังเกตทราบก็ยากเอาการอยู่พอสมควร เนื่องจากมันไม่แสดงอาการเป็นสัดให้เห็นออกมาเด่นชัด มีเพียงอวัยวะเพศบวมแดงเล็กน้อยและมักจะมีอาการเงียบซึม ไม่เหมือนกับหมูบ้านที่ร้องกระวนกระวาย จึงควรหมั่นสังเกตให้ดีอยู่เสมอ เมื่อเห็นว่าแม่หมูพันธุ์แสดงลักษณะอาการดังกล่าวออกมาให้เห็นก็ให้จับผสม พันธุ์เสีย การผสมพันธุ์หมูป่าและการคลอดลูกของหมูป่า โดยทั่วไปแล้วอายุที่เหมาะสมสำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่เริ่มผสมพันธุ์ครั้งแรกจะ ประมาณ 1 ปี สำหรับการผสมพันธุ์หมูป่านั้นหากใช้พันธุ์เดียวกัน เช่น พันธุ์หน้าสั้นผสมกับพันธุ์หน้าสั้น หรือพันธุ์หน้ายาวผสมกับพันธุ์หน้ายาวนั้นจะให้ลูกไม่ดก ไม่แข็งแรง โตช้าให้น้ำหนักน้อย ในการผสมพันธุ์ก็จะใช้อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ประมาณ 1 : 7 การผสมพันธุ์ก็จะทำกันในวันที่ 3 ของการเป็นสัด (ของตัวเมีย) โดยจะต้อนตัวเมียเข้าไปหาตัวผู้และให้ผสมกับตัวผู้ตัวแรกในช่วงเช้าจากนั้น ก็จะต้อนตัวเมียตัวเดิมให้ไปผสมกับตัวผู้ตัวที่ 2 ในช่วงเย็น ข้อควรระวังในเรื่องการใช้ตัวผู้เป็นพ่อพันธุ์ ไม่ควรใช้ผสมทุกวัน ทางที่ดีควรใช้ผสมวันเว้นวัน และในวันที่ผสมนั้นให้ผสมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แม่พันธุ์ที่ถูกผสมพันธุ์และผสมติดแล้วจะตั้งท้องนานประมาณ 114-117 วัน (หรือประมาณ 3 เดือน 3 อาทิตย์ 3 วัน) เมื่อได้คำนวณวันที่จะคลอดได้แล้ว ก่อนที่จะคลอดให้เตรียมคอกคลอดเอาไว้ โดยการโรยดินบาง ๆ บนพื้นคอกตลอด เพื่อให้ลูกหมูรู้จักเหมือนกับว่าได้เกิดตามธรรมชาติ และจะล้างดินออกหลังจากคลอดแล้วประมาณ 1-2 อาทิตย์ การคลอดลูกของหมูป่า ในการคลอดลูกนั้นแม่หมูป่าจะคลอดเอง โดยไม่มีใครไปช่วยทำคลอดแต่อย่างใด เพราะว่าแม่หมูป่าจะดุร้ายมากเข้าไปใกล้ตัวไม่ได้ ต่อคำถามว่าจะสังเกตรู้ได้อย่างไรว่าแม่หมูกำลังอยุ่ในช่วงที่ใกล้คลอด ซึ่งก็ขอได้รับคำตอบว่าแม่หมูป่าก็มีอาการกระวนกระวายเหมือนกับหมูบ้านเรา นี่แหละ แต่ความรุนแรงก็มีมากกว่าบางครั้งจะมีการกัดคอกกัดกรง คนเข้าใกล้ไม่ได้เลยจึงต้องปล่อยให้มันคลอดเอง เมื่อแม่หมูคลอดลูกออกมาท่ามกลางกองดินลูกที่คลอดออกมาก็สามารถลุกยืนได้ แต่ถ้าหากว่าคลอดในคอกพื้นปูนแล้วลูกหมูจะยืนไม่ค่อยได้เพราะว่าคอกมีความ ลื่นทั้งนี้เนื่องจากว่าคอกหมูป่านี้เป็นพื้นปูนที่ขัดมันนั่นเอง ลูกหมูที่คลอดมาแต่ละครอกมีปริมาณเฉลี่ยแล้วประมาณ 6 ตัว ในแม่หมูสาวจะให้ลูกน้อยกว่าหมูที่มีอายุมาก อย่างไรก็ตามอัตราการรอดของลูกหมูก็มีไม่เกิน 10 ตัว แม้ว่าแม่หมูตัวนั้นจะคลอดลูกได้มากกว่า 10 ตัวก็ตาม ทั้งนี้เพราะว่าเต้านมของหมูป่ามีเพียง 10 เต้าเท่านั้นมีไม่มากเกินนี้ ถ้าหากว่าแม่หมูป่าตัวใดมีเต้านมมากกว่า 10 เต้า แสดงว่าหมูนั้นเป็นหมูลูกผสม ในขณะเดียวกันการกินนมของลูกหมูจะกินเต้าใครเต้ามัน ฉะนั้นลูกหมูที่มีขนาดเล็กเกิดมาแล้วแย่งเต้านมกับเขาไม่ได้ก็ไม่สามารถกิน นมได้ก็ทำให้ผอมตายไป จึงทำให้ลูกหมูแต่ละครอกรอดตายได้ไม่เกิน 10 ตัว แม้ว่าจะนำออกมาเลี้ยงด้วยนมผงก็ตาม แต่ก็เลี้ยงไม่รอดอาจเป็นเพราะว่านมผงไม่มีภูมิต้านทานโรคก็อาจจะเป็นได้ ดังนั้นควรจับให้ลูกหมูได้กินนมน้ำเหลืองซึ่งมีตอนแรกคลอดก่อนทุกตัวเพราะใน นมน้ำเหลืองนี้มีภูมิคุ้มกันโรคอยู่มาก การนำลูกหมูในครอกที่มีเกิน 10 ตัว ไปฝากแม่พันธุ์ตัวอื่น นั้นไม่สามารถทำได้เพราะจะถูกแม่หมูกัดตายเนื่องจากมันรู้ว่าไม่ใช่ลูกของ มันโดยสัญชาติญาณนั่นเอง จึงจำไว้ว่าอย่านำลูกหมูป่าจากแม่หนึ่งไปให้อีกแม่เลี้ยง เพราะมันจะขบตายหมดจะเลี้ยงเฉพาะลูกของตัวเอง ลูกหมูป่าแรกเกิดจะมีลายเป็นแถบเล็ก ๆ สีเหลืองสลับขาวพาดตามความยาวของลำตัวคล้ายลายแตงไทย ลายนี้จะเลือนหายไปเมื่ออายุได้ 4-5 เดือน เมื่อลูกเกิดได้ 3 วันฉีดธาตุเหล็กให้ลูกหมู และให้ระวังการเข้าไปฉีดไว้บ้างเพราะแม่หมูป่าหวงลูกมาก การเลี้ยงหมูเล็กและแม่พันธุ์หลังคลอด ลูกหมูหลังคลอดเกิดมาแล้วจะปล่อยให้กินนมแม่ไปเรื่อย ๆ จากลูกหมูมีอายุ 45 - 50 วันก็จะหย่านม การหย่านมนั้นก็ทำโดยปล่อยลูกหมูให้อยู่ในคอกตามปกติแต่จะไล่ต้อนแม่หมูออก จากคอกไปเลี้ยงยังคอกที่ว่าง แต่ในช่วงก่อนที่จะอย่านมนั้นลูกหมู นอกจากจะได้รับนมจากแม่ของมันแล้วลูกหมูก็จะได้กินอาหารหมูอ่อนตามไปด้วย ทั้งนี้และทั้งนั้นลูกหมูจะเริ่มหัดเลียรางตามแม่ของมันเมื่อมีอายุได้ ประมาณ 15 วัน ฉะนั้นในช่วงนี้จึงต้องใส่อาหารหมูอ่อนให้อาหารนั้นก็เป็นอาหารอัดเม็ดของ หมูบ้านที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปนั่นเอง ปริมาณการให้อาหารจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามกำลังความสามารถของลูกหมูที่จะกินได้ แม้ว่าจะหย่านมลูกหมูแล้วก็ตาม ลูกหมูก็จะได้รับอาหารอัดเม็ดนี้ต่อไปอีกประมาณ 10 วัน หรือลูกหมูมีอายุประมาณ 60 วันนั่นเอง จึงเปลี่ยนเป็นอาหารลูกขุนซึ่งเป็นอาหารผสมเอง สำหรับแม่พันธุ์ที่ทิ้งลูกไปแล้วนั้นก็จะเลี้ยงอาหารหมูพันธุ์ตามปกติ ซึ่งจะให้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 13% เท่านั้น ปริมาณการให้ในแต่ละตัวในบรรดาพ่อแม่พันธุ์ทั้งหมดนั้นก็ใช้ตัวละประมาณไม่ เกิน 1 กิโลกรัม ต่อวัน การให้อาหารจะให้กินสองเวลาด้วยกันกล่าวคือเวลาเช้า ประมาร 7.00 น. ให้อาหารประมาณ 0.4-0.5 กิโลกรัมและอาจจะให้อีกเวลา 15.00 น.ในปริมาณเท่า ๆ กัน ส่วนน้ำนั้นก็มีให้ตลอดอาจใช้การให้น้ำแบบอัตโนมัติเหมือนกับหมูบ้านที่ เลี้ยงกันโดยทั่วไปก็ได้ การให้หัดให้กินน้ำจากที่ให้น้ำอัตโนมัติในช่วงแรกนั้น เพียงแต่กดให้น้ำไหลและเมื่อหมูป่าเกิดความหิวมันก็จะเข้ามากัดก๊อกน้ำกิน เอง หลังจากหย่านม 1 อาทิตย์ แม่หมูจะเป็นสัดให้ผสมต่อได้ (ตัวเมียเป็นสัด 21 วันครั้ง) ทำให้ได้ลูก 2 ครอกต่อปี การเลี้ยงดูหมูขุน ในการเลี้ยงดูหมูขุนนั้นจะให้อาหารสองเวลา เช้า 7.00 น. และบ่ายเวลา 15.00 น. เหมือนกันโดยให้ในปริมาณ 0.4-0.5 กิโลกรัมต่อเวลาต่อตัว เมื่อลูกหมูมีอายุ 4 เดือนก็จะทำการถ่ายพยาธิและอีก 4 เดือน ถัดไปก็ถ่ายพยาธิอีกครั้ง หมูขุนที่เลี้ยงในฟาร์มนี้ ควรจัดให้อยู่คอกละประมาณ 4 ตัว (คอกขนาด 2-2.50 x 3เมตร) ฉะนั้นอาหารที่ให้ก็เฉลี่ยให้รวมทั้ง 4 ตัว อาหารที่ให้นั้นจะมีโปรตีนต่ำเพียง 9% เท่านั้น ระยะขุน 2 เดือนแรกนั้นจะเร่งการเจริญเติบโตถึงการให้อาหารโปรตีน 13 % สำหรับอาหารที่ให้นั้นก็มีส่วนประกอบของรำละเอียด ปลายข้าว รำหยาบ และหัวอาหาร รำยาบนั้นให้เพื่อเป็นยาระบายและใส่ลงไปโดยไม่ได้คิดโปรตีนรวมด้วย การให้อาหารจะเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อหมูโตขึ้นด้วยจนกระทั้งสามารถจับจำหน่าย ได้ (การให้อาหารเฉลี่ยตั้งแต่เล็กไปจนจำหน่ายได้นั้นจะใช้ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน) การเลี้ยงดูหมูขุนเพื่อส่งตลาดเวลาที่เลี้ยงจะแตกต่างกัน คือ ถ้าเป็นพันธุ์หน้าสั้นจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ส่วนพันธุ์หน้ายาวจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ทั้งนี้เพราะหมูป่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดก็ตรงหนังของมัน พันธุ์หน้าสั้นหนังจะหนาเร็วเลยถูกเชือดเร็ว พันธุ์หน้ายาวหนังหนาช้าก็ยืดเวลาเชือดออกไปอีก 4 เดือน ทีนี้จะมีคนถามอีกว่าถ้าเอาพันธุ์หน้าสั้นผสมกับพันธุ์หน้ายาว(ตัวผู้หน้า ยาวตัวเมียหน้าสั้น) ก็จะได้ลูกผสมที่มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์หน้าสั้น หนังหนาเร็วกว่าพันธุ์หน้ายาว และใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 8 เดือนจึงส่งเชือด เกี่ยวกับต้นทุนค่าอาหาร เมื่อคิดคำนวณต้นทุนอาหารแล้วตกราว 800 กว่าบาทเท่านั้น ตลอดระยะเวลาเลี้ยงขุน 1 ปีเต็ม ซึ่งจะให้ได้หมูป่าที่มีน้ำหนักประมาณ 60-70 กิโลกรัม แต่เมื่อผ่าซากออกมาแล้วจะได้ส่วนของเนื้อประมาณ 40 กิโลกรัมเท่านั้น คิดคำนวณอัตราการแลกเนื้อแล้วจะได้ประมาณ 2 เท่า เมื่อขายได้ราคาประมาณตัวละสองพันบาทเศษ หากว่าเราสามารถเพาะพันธุ์หมูป่าได้เอง เมื่อคิดหักลบต้นทุนการเลี้ยงด้านต่าง ๆ แล้วจะมีกำไรอยู่ไม่น้อย |
| |
11-26-2007, 08:27 PM | #3 (permalink) |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน วันที่สมัคร: Apr 2007 กระทู้: 2,739 ให้การขอบคุณ: 9 ได้รับการขอบคุณ 1,016 ครั้ง คะแนน: 247 จาก 177 หัวข้อ | อาหารและการให้อาหารเลี้ยงหมูป่า อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าหมูป่าจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตเต็มความสามารถ ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพอาหารที่กินเข้าไป อาหารหลัก คือ ผักและเศษอาหารที่มีอยู่ทั่วไป เช่น ผักบุ้ง ผักตบ หญ้าขน หรืออื่น ๆ ที่พอจะหาได้ แต่ในอาหารที่ให้กินนี้ควรผสมธาตุอาหารอื่นบ้าง เช่น รำ หรือหัวอาหารนิดหน่อยทั้งจะต้องให้ในปริมาณเหมาะสมไม่ใช่กินกันตลอดเวลา หมูป่าจะได้มีเนื้อหนา ไม่มีมัน ถ้าให้หัวอาหารหรืออาหารถุงก็ได้ หมูป่าจะโตไว ตัวใหญ่ แต่ปัญหาจะตามมา คือทำให้มีไขมันมาก หนังไม่กรอบ และไม่หนา ถ้าหมูป่ามีปัญหาแบบนี้ การจำหน่ายจะมีปัญหาทันที อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูป่า แบ่งเป็น 5 ระยะ โดยให้วันละสองมื้อ (เช้า-เย็น) 1.อาหารสำเร็จหมูดูดนม ให้จนกระทั่งถึงลูกหมูหย่านม 2.อาหารหมูรุ่น (ช่วงนี้จะกินอาหารประมาณวันละ 0.5 กิโลกรัม) ให้กับลูกหมูหลังหย่านม นาน 2.5 เดือน 3.อาหารหมูขุน (ช่วงนี้จะกินอาหารประมาณวันละ 0.5 กิโลกรัม)ให้จนหมูมีอายุ 1 ปี แล้วส่งชำแหละจะได้น้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม 4.อาหารพ่อแม่พันธุ์และระยะหลังตั้งท้อง แม่หมูที่ผสมติดแล้วจะให้กินอาหารวันละ 1 กิโลกรัมเป็นเวลา 2.5 เดือน แล้วจึงให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 15 กิโลกรัม ต่อวันจนถึงอีก 2 อาทิตย์จะคลอด ให้กินอาหารเพียง 1 กิโลกรม ต่อวัน 5.อาหารแม่หมูเลี้ยงลูก เมื่อคลอดแล้วให้กินอาหาร 3 กิโลกรัมต่อวัน ว่ากันว่าการให้อาหารหมูป่าจะประหยัดมาก เพราะหมูป่ากินอาหารน้อยกว่าหมูบ้านถึง 5 เท่า อาหารเลี้ยงหมูบ้าน 1 ตัว จึงเลี้ยงหมูป่าได้ 5 ตัว ปกติจะให้อาหารหมูป่าวันละ 2 มื้อ มื้อละครึ่งกิโลกรัม ส่วนเรื่องน้ำก็ให้เพียงวันละ 1 แกลลอนเท่านั้น การให้อาหารหมูทั่วไป อาจให้อาหารลูกหมูในช่วงแรก ถัดไปจึงเปลี่ยนเป็นอาหารหมูใหญ่ การผสมอาหารต้องไม่ให้หัวอาหารมากเกินไป เพราะมักจะทำให้หมูป่าท้องร่วง ทำให้เปลืองโดยใช่เหตุ แต่ถ้ามีพวก พืช ผัก เช่น เผือก มัน ต้นอ้อย ทีเหลือกินเหลือใช้ จะใช้เป็นอาหารเสริมได้อย่างดี อาหารสามารถให้ได้โดยเวลาเช้าหั่นหยวกกล้วยแล้วนำไปผสมกับรำข้าว ในอัตราหยวกกล้วย 3 ส่วน รำ 1 ส่วน ให้กินวันละ 2 เวลาเช้า-เย็น ปริมาณการให้จะสังเกตุจากการกินของหมูป่า ว่าตักให้กินขนาดไหนจึงจะพอดี ในช่วงกลางวันอาจเสริมด้วยผักตบชวาหัวมันหรือกล้วย เรื่องการให้อาหารจึงทำได้ง่ายและต้นทุนต่ำ สำหรับน้ำที่ให้กินจะใช้วิธีการตั้งถังเก็บน้ำไว้แล้วปล่อยน้ำไปตามสายยาง ซึ่งที่สายยางจะต่อที่ให้น้ำสำหรับหมูไว้ ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ในฟาร์มทั่วไป หมูป่าชอบกินหญ้าอ่อนเป็นอาหารเหมือนกันโดยเฉพาะหญ้าขน จึงควรที่จะได้จัดหาไปให้หมูป่าได้กิน หรือควรที่จะได้ปลูกไว้ให้กินเป็นอาหารเสริม ยกเว้นเพียง 2 อย่างที่ไม่ควรนำมาเป็นอาหาร ก็คือ ใบกระถินกับมันสำปะหลังดิบ และไม่ควรให้หมูกินเป็นอาหารอย่างเด็ดขาด เนื่องจากมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อหมูป่า การจัดการและการป้องกันโรค การเลี้ยงหมูป่ามีความคล้ายคลึงกับการเลี้ยงหมูบ้านมาก จะมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างก็ตรงที่ว่า แสงแดด หมูป่าต้องการแสงแดดมากกว่าหมูบ้าน จึงควรเปิดโอกาสให้มีแสงแดดส่องถึงคอกหมู ความสงบ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหมูป่าตกใจง่าย ประสาทสัมผัสรับรู้เร็วที่สุด โดยเฉพาะเรื่องเสียง หากมีเสียงดังแล้วจะวิ่งกันไม่หยุดโดยเฉพาะเล็บของหมูป่าจะตะกุยกับพื้น มาก ๆ เข้ามันแรงขนาดขุดพื้นปูนจนมีกลิ่นเหม็นไหม้เลยทีเดียวฉะนั้นพื้นหินจึงจำ เป็นจะต้องขัดมันใครที่คิดว่าการเลี้ยงหมูป่าจะต้องการให้หมูป่าออกกำลังกาย มากหรือวิ่งมาก ๆ เพื่อไม่ให้มีไขมันนั้นจึงไม่เป็นเรื่องจริง ความสะอาด ในด้านความสะอาดก็เช่นกันหมูป่าแทนที่จะชอบเลอะเทอะเหมือนว่าอยู่ดง แต่ความจริงชอบความสะอาด ควรจะมีการฉีดน้ำล้างคอกทุกวันและราดน้ำยาฆ่าเชื้อทุกอาทิตย์จะช่วยป้องกัน โรคได้ดีมาก หากโรงเรือนหรือคอกเลี้ยงทำให้สะอาดดีแล้วจะไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับโรค เพราะปกติหมูป่ามีความต้านทานโรคสูงอยู่แล้ว ไม่มีโรคประจำตัวอะไรมากนัก การป้องกันโรค หมูป่าไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคนักเพราะเป็นสัตว์ที่แข็งแรงอยู่แล้ว อาจมีบ้างก็ในลูกหมูก่อนหย่านม เช่นท้องร่วง โรคปอดบวม แต่มีอาการเพียงเล็กน้อยเมื่อให้ยาที่ถูกต้องก็ไม่มีปัญหาอะไร (โรคของหมูป่ามันจะไม่ค่อยแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น ถ้าหากว่าโรคยังคุกคามไม่มาก เมื่อหมูไม่แสดงอาการตั้งแต่แรกที่โรคเข้าแทรกก็ทำให้เราไม่รู้ว่าหมูเป็น โรค จะรู้ก็ต่อเมื่อโรคแทรกซ้อนมากขึ้นจนแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว จึงแสดงอาการให้เห็น บางตัววันนี้ยังสังเกตเห็นท่าทางยังปกติอยู่แต่เมื่อถึงวันรุ่งขึ้นหมูตัว นั้นก็นอนตายคาคอกก็มี) โรคอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วนี้ก็มีโรคขี้เรื้อน ซึ่งมักจะเกิดในหน้าหนาว แต่โรคนี้เราก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการฉีดยา โดยในการฉีดยานั้น ให้ฉีดไปบนสันหลังของหมูป่า ทั้งนี้คนฉีดจะอยู่นอกคอก เมื่อหมูป่าเข้าใกล้ก็เอาเข็มจิ้มลงไปบนหลังแล้วฉีดปล่อยยาเข้า ถ้าเป็นหมูใหญ่จะมีเรื่องการถ่ายพยาธิทุก 6 เดือน พร้อมทั้งต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญในหมู เช่น โรคอหิวาต์ โดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ ซึ่งจะเข้ามาช่วยดูแลและให้คำแนะนำในเรื่องของการฉีดวัคซีนป้องกันโรค อย่างไรก็ตามระหว่างการเลี้ยงหมูป่าในปัจจุบันแทบจะไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้น เกี่ยวกับโรคภัย จึงเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจในการลงทุนเลี้ยงหมูป่าได้เป็นอย่างดี การจัดจำหน่ายและการตลาดของหมูป่าและแนวทางการเลี้ยงหมูป่าเพื่อการค้า ในการดำเนินการเลี้ยงหมูป่าเพื่อการค้าเราสามารถจัดจำหน่ายหมูป่าออกเป็น 3 ลักษณะคือ 1. การจำหน่ายลูกหมูพันธุ์ 2. การจำหน่ายพ่อหมูขุน 3. การจำหน่ายหมูชำแหละ การจำหน่ายลูกหมูพันธุ์ โดยจะจำหน่ายในช่วงที่ลูกหมูป่ามีอายุหลังหย่านม คือประมาณ 60-90 วัน ส่วนราคาก็คู่ละ 3500-5000 บาท โดยตัวผู้จะมีราคาถูกกว่าตัวเมีย อาทิเช่น ในราคาคู่ละ 3500 บาท จะมีราคาตัวผู้ 1000 บาท และตัวเมีย 2500 บาท การจำหน่ายลูกหมูขุน โดยจะจำหน่ายเมื่อได้เลี้ยงจนอายุ 8 เดือน ถึง 1 ปี ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละพันธุ์ที่ใช้เลี้ยง กล่าวคือ ได้มีผู้ทดลองเลี้ยงหมูป่าลูกผสม ระหว่างพันธุ์หน้ายาวตัวผู้กับพันธุ์หน้าสั้นตัวเมีย ลูกผสมที่ได้จะมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์หน้าสั้น และหนังจะหนาเร็วกว่าพันธุ์หน้ายาว เลี้ยงเพียง 8 เดือน ก็เชือดส่งร้านค้าได้แล้ว แต่ถ้าเป็นพันธุ์หน้ายาวหรือพันธุ์หน้าสั้นโดยตรงแล้วจะต้องเลี้ยงนานถึง 10 เดือน ถึง 1 ปี จึงจะเชือดได้เพราะหนังหนาช้า อย่างไรก็ตามจากการที่ผู้บริโภคเนื้อหมูป่าจะนิยมบริโภคหนังหมูป่า ด้วยสาเหตุที่หนังของหมูป่าจะนุ่มกรอบ เคี้ยวอร่อยไม่มีมันเลี่ยนแบบหมูบ้านก็ตาม แต่หนังไม่ควรหนาเกิน 3 เซนติเมตร เพราะจะเหนียวเกินไปเคี้ยวไม่อร่อย ดังนั้นหนังของหมูป่าจะหนาช้าหนาเร็วจึงมีความสำคัญอยู่มาก โดยเฉพาะในรายที่เลี้ยงหมูป่าเป็นการค้าเพราะนั่นหมายถึงระยะเวลาในการ เลี้ยงจนถึงขนาดที่จะส่งขายได้ดังที่กล่าวมา การจำหน่ายหมูชำแหละ (อาจรับซื้อหมูขุนจากแหล่งอื่นด้วยก็ได้) โดยจะเชือดและชำแหละส่งตามร้าน อาหาร สวนอาหาร และภัตตาคาร หรือตามตลาดสดทั่วไปสำหรับราคาหมูป่าชำแหละก็จะตกประมาณ กิโลกรัมละ 85 - 120 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลและสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ในการเชือดหมูป่าก็เหมือนกับการเชือดหมูบ้าน ตัวผู้ของหมูป่าจึงอาจมีกลิ่นสาบบ้าง จึงต้องมีวิธีลดกลิ่น คือหลังจากฆ่าใหม่ๆ จะต้องรีบเชือดลูกอัณฑะออกโดยเร็วเสียทั้งพวง วิธีนี้จะทำให้เนื้อหมูป่าลดกลิ่นสาบลง และแทบจะไม่มีกลิ่นจนแยกไม่ออกว่าเป็นเนื้อหมูตัวผู้หรือตัวเมียส่วนการ ชำแหละจำหน่ายนั้นก็จะต้องให้มีเนื้อติดหนังด้วยในทุกๆ ครั้งเสมอไป ในการจำหน่ายหมูป่า ถ้าเราต้องการที่จะจำหน่ายให้ครบทั้ง 3 ลักษณะ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นหมายถึง กิจการของการเลี้ยงหมูป่าของฟาร์มจะต้องขยายเติบโตมากขึ้น สำหรับการรับรองบริการด้านต่างๆ ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ดำเนินไปตามเป้าหมาย ฟาร์มจะต้องมีมาตรฐาน การเลี้ยงที่ดีจากผู้เลี้ยงที่มีความสามารถการบริหารในฟาร์มต้องเป็นไปอย่าง พร้อม เพื่อสนองการผลิตให้เพียงพอ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานี้จะพบว่า มีเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูบ้านรายย่อยไม่น้อยราย จำใจต้องละทิ้งอาชีพของตนไป ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าประสบปัญหาความยุ่งยากในเรื่องของการตลาด ไม่ว่าจะเป็นความไม่แน่นอนของราคาหมูบ้าน การกดราคาซื้อหมูบ้านมีชีวิตให้ถูกลง ยิ่งไปกว่านี้ราคาหัวอาหาร ปลายข้าว รำ และยารักษาโรคก็แพงขึ้นไปอีก ทำให้เกิดภาวะการขาดทุน เกษตรกรรายย่อยก็ไม่มีเงินทุนที่จะดำเนินการเลี้ยงครั้งใหม่ต่อไป เพราะการลงทุนเลี้ยงสุกรจำเป็นต้องใช้เงินทุนสูง อีกประการหนึ่งก็เป็นเพราะว่ารัฐบาลก็ไม่ได้มีแผนการระยะสั้นระยะยาวอะไรที่ จะคอยช่วยเหลือหรือแก้ไขด้วยความจริงใจและจริงจังแต่อย่างใด แต่เมื่อเราหันกลับมามองการเลี้ยงหมูป่าเพื่อเป็นการค้ากันบ้างก็พอจะมอง เห็นลู่ทางว่า มันน่าจะมีท่าทางไปได้ดีกว่าหมูบ้านแน่ ขณะนี้มีผู้นิยมเนื้อหมูป่าไปบริโภคกันมากขึ้นตามร้านอาหาร ตามภัตตาคารก็เริ่มจะมีหมูป่าไว้บริการกันมากขึ้น อาหารจากเนื้อหมูป่าค่อนข้างแพงยังซื้อหากันได้ยาก จากการบริโภคเนื้อหมูป่าในรสชาติสำหรับคนชอบกินอาหารแปลกก็ดี หรือติดใจเนื้อหนังที่ไม่เหมือนหมูบ้านก็ดี ทำให้เนื้อหมูป่ามีราคาสูงพอสมควร ( ขณะนี้ราคากิโลกรัมละ 80 - 120 บาท ) อีกทั้งจำนวนหมูป่าธรรมชาติก็ลดลง ยกเว้นบางป่าที่พอจะมีที่ซุกหัวได้เช่น ตามเขตอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอะไรพวกนั้น ซึ่งกำลังลดลงทุกทีเหมือนกัน ดังนั้นถ้าเราคิดจะเลี้ยงหมูป่ากันเพื่อที่จะส่งขายตามท้องตลาดเสียตั้งแต่ วันนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ มีสุขฟาร์ม หมูป่า อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์ ( ตรงสำนักงานเกษตร อ. วิเชียรบุรี ) เบอร์โทร. 09-045-8051 จำหน่ายพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์หมูป่าแท้ มีทั้งหน้าสั้นหน้ายาว อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ให้คำปรึกษารวมทั้งวิธีการเลี้ยงฟรี หรือแวะเข้ามาดูที่ฟาร์มก่อนได้ ติดต่อ ผู้กองจิระ 09-684-2989 sa-on ฟาร์ม จำหน่ายหมู่ป่า ทั้งหน้าสั้น หน้ายาว ราคาแบบกันเอง มีให้เลือกมากมายหลายขนาด สนใจติดต่อ หรือแวะชม บ.บดมาด ต.พอกน้อย อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (ฟาร์ามติดถนนใหญ่ สกล-อุดร) หรือติดต่อ 0-4274-6188,0-7949-6948,0-9570-9499,0-1055-9244,0-9574-9537 น้องมดฟาร์ม อ.คลองหาด จ.สระแก้ว 06-1522920 จำหน่ายพันธุ์หมูป่า หน้าสั้นและหน้ายาว และขายเนื้อ ประสิทธิ์ |
| |
11-26-2007, 08:43 PM | #4 (permalink) |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน วันที่สมัคร: Apr 2007 กระทู้: 2,739 ให้การขอบคุณ: 9 ได้รับการขอบคุณ 1,016 ครั้ง คะแนน: 247 จาก 177 หัวข้อ | แถมอีกนิดหนึ่งเด้อ ข้อแตกต่างระหว่างหมูป่ากับหมูบ้าน จะเห็นลักษณะที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ - ขน ขนของหมูป่าแต่ละเส้นจะยาวและหยาบมาก มีรูขุมขนที่หนังจะรวมกันเป็นกระจุก ๆ ละ 3 รู ๆ ละ 1 เส้นขณะที่รูขุมขนของหมูบ้านจะกระจายไปทั่วตัวไม่รวมเป็นกระจุก นอกจากนี้หมูป่าจะมีขนแผงสีดำเข็ม ยาวประมาณ 6 นิ้วขึ้นไป ตั้งแต่ท้ายทอยตลอดไปตามแนวสันหลังจนถึงตะโพก ขนแผงนี้จะตั้งลุกชันเวลาได้ยินเสียงผิดปรกติหรือได้กลิ่นศัตรู แต่หมูบ้านไม่มีขนแผง - ใบหน้า ใบหน้าของหมูป่าจะมีลักษณะหน้าเสี้ยม ปากแหลมยาว หูเล็กตั้งแข้งแนบศีรษะ ตาดุพอง และที่แก้มของหมูป่าจะมีแนวขนสีขาวพาดผ่านคร่อมสันจมูก ส่วนหมูบ้านนั้นกลับหน้าสั้น ปากสั้น หูใหญ่ ตาไม่ดุ และไม่พอง ถ้าอ้วนมากตาจะหยี ส่วนที่แก้มก็ไม่มีแนวขนสีขาว - ส่วนไหล่หน้า หรือที่เรียกว่า ผานของหมูป่าจะสูงกว่าขาหลังทำให้รูปร่างของหมูป่าไหล่สูงท้ายต่ำ และที่ไหล่สองข้างเหนือขาหน้าทั้งซ้ายและขวา จะมีเกาะหรือผื่นไขมันนูนออกมาเป็นไตแข็ง สำหรับความหนาของเกาะหรือแผ่นไขมัน จะเพิ่มตามอายุคือถ้าหมูป่ามีอายุ 3 ปีเกาะจะหนาประมาณ 3 ซม. ถ้าอายุ 5 ปี เกาะจะหนาประมาณ 5 ซม. ส่วนหมูบ้านนั้นส่วนไหล่หนาหรือผานนั้นไม่แตกต่างจากขาหลังมาก และไม่มีเกาะหรือแผ่นไขมัน - ขา ขาของ หมูป่าจะเล็กเรียว คล้ายขาเก้ง กีบเท้าเล็กดำ ปลายกีบหนา 2 กีบแหลมเล็ก กีบลอยสูงจากพื้นมาก แต่ของหมูบ้านขาอ้วนกลมค่อนข้างสั้น กีบเท้าใหญ่ ปลายกีบหนา 2 กีบใหญ่ กีบลอยสูงจากพื้นไม่มาก - เขี้ยว เป็นส่วนที่เด่นที่สุดของหมูป่าโดยเฉพาะในตัวผู้เขี้ยวนี้จะงอกยาวออกมานอก ปากให้เห็นเมื่อมีอายุ 4 - 5 ปี ในธรรมชาติเขี้ยวนี้จะใช้เป็นอาวุธป้องกันตัว ส่วนหมูบ้านจะไม่มีเขี้ยว ส่วนอื่น เช่น ท้องของหมูป่าจะเป็นท้องติ้ว คือท้องไม่ห้อย หางเล็กเรียว และสั้น ส่วนหมูบ้านนั้นท้องไม่ติ้วหรือท้องกลับห้อย หางยาว อ้วนกลม และที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ หมูป่าจะมีประสาทหูไวมาก มีภูมิต้านทานโรคสูง โรคน้อย หมูบ้านมีโรคมาก - การเป็นสัด การคลอดลูก และการเลี้ยงดู ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนของหมูป่าและหมูบ้าน คือเวลาเป็นสัดหมูป่าจะดุกว่าธรรมดา ถ้าอยู่กับดินจะขุดคุ้ยดินจนเป็นหลุมลึกและกว้างเกือบเท่าตัว ออกลูกเองโดยไม่ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ ลูกหมูที่คลอดใหม่จะมีทางลายน้ำตาลคล้ายลายแตงไทยหรือปลาชะโด เมื่อลูกหมูอายุ 4 เดือนขึ้นไป ลายนี้จะจางหายไปเอง แม่หมูมีเต้านม 10 เต้า เลี้ยงลูกเก่งกว่าหมูบ้าน ไม่นอนทับลูก ยิ่งแก่ยิ่งลูกดก หมูสาวจะให้ลูก 4 - 6 ตัว แต่หมูอายุ 4 ปี จะให้ลูก 10 - 11 ตัว ส่วนหมูบ้านเวลาเป็นสัดหรือออกลูกจะไม่ดุ ถ้าพื้นคอกเป็นดินก่อนคลอดจะคุ้ยดินเช่นกัน แต่หลุมไม่ลึกและกว้างมากนัก บางตัวออกลูกยากต้องมีคนคอยช่วยเหลือ เลี้ยงลูกไม่เก่ง ชอบนอนทับลูก มีเต้านมประมาณ 8 - 12 - 14 - 16 เต้า ยิ่งแก่ยิ่งมีลูกน้อย เพราะนมไม่พอ อย่างไรก็ตามในแง่อุ้มท้องทั้งหมูป่าและหมูบ้านนั้นใช้เวลาใกล้เคียงกันคือ 114 วัน - ลักษณะเนื้อและคุณภาพเนื้อ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญในความแตกต่างกันที่สุดของหมูป่ากับหมูบ้าน " เนื้อ " หมูป่านั้นเป็นเนื้อที่ไม่มีมันคั่นกลางระหว่างเนื้อกับหนัง คือเนื้อกับหนังจะอยู่ติดกันและเนื้อแดงของหมูป่าจะแข้งกว่าเนื้อหมูบ้าน เพราะกินน้ำน้อยกว่า ส่วนเนื้อของหมูบ้านจะมีมันคั่นกลางระหว่างเนื้อกับหนังคือ เป็นเนื้อสามชั้น เนื้อนิ่มและแฉะมาก เพราะหมูบ้านกินน้ำมาก |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น